24 ตุลาคม 2565

อาเซียนผนึกกำลังในการมุ่งสู่ระบบเกษตรและอาหารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เรื่อง เครือข่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน ภาพ: GIZ/Anggara Mahendra

ผู้แทนระดับชาติในฐานะผู้แทนหลักของเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน (ASEAN Climate Resilience Network: ASEAN-CRN) และพันธมิตร จำนวนราว 30 คน เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ  “การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเกษตรและอาหารที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ: กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และการฝึกอบรมการเจรจานโยบายสภาพภูมิอากาศ” ระหว่าง27-29 กันยายน 2565 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการปล่อยคาร์บอนต่ำและสุทธิเป็นศูนย์ในภาคการเกษตร และเสริมสร้างทักษะพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อนำวาระความร่วมมือด้านเกษตรโคโรนีเวีย (KJWA) มาร่วมเจรจาในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (Conference of the Parties: COP27) รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานในเครือข่าย

ตลอด 3 วันของการประชุมมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการเจรจานโยบายสภาพภูมิอากาศในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) และคณะผู้แทนในกลุ่มเจรจาด้านการเกษตรของอาเซียน (ASEAN Negotiating Group for Agriculture ANGA) เข้าร่วมนำเสนอผลจากการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติ ประจำปี 2565 (United Nations Climate Change Conferenceหรือ SB56) ที่จัดขึ้นที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี ช่วง 4-16 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่ออภิปรายและระดมสมองเตรียมความพร้อมในการประชุม สมัชชาประเทศภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (Conference of the Parties: COP27) ที่จะจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่เมืองชาร์ม เอล-ชีค ประเทศอียิปต์ 

“รายงานการประเมินครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ (United Nations Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) เรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบอาหาร ผลกระทบในเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเกษตรได้เกิดขึ้นแล้วในหลายพื้นที่ เช่น ฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป ผลผลิตพืชผลทางการเกษตรที่ลดลง และสุขภาพสัตว์ที่เสื่อมโทรมลงเนื่องจากความเครียดจากความร้อน เป็นต้น การลดการปล่อยก๊าซมีเทนสามารถก่อให้เกิดผลกระทบที่มากกว่าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากครึ่งชีวิตของมีเทนในชั้นบรรยากาศมีระยะเวลายาวนานเกือบทศวรรษ ระบบเกษตรและอาหารที่ยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำเป็นวิธีที่สำคัญในการจัดการกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันในการปรับตัวและการบรรเทาผลกระทบ คุณโบ ดาเมน  (Beau Damen) เจ้าหน้าที่ทรัพยากรธรรมชาติ – การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงานชีวภาพ, องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก  กล่าวระหว่างการนำเสนอ

“การลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonisation) หมายถึงมาตรการที่ภาคธุรกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือภาคปศุสัตว์ใช้ในการลดรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) ที่เกิดจากกิจกรรมนั้นๆ โดยหลักคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน หรือไนตรัสออกไซด์ ภูมิภาคอาเซียนมีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาลจากการใช้ที่ดินและภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตข้าว การคุ้มครอง และการฟื้นฟูภูมิทัศน์ธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้เราบรรลุวาระคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้ในที่สุด” ดร. ซินิโร คอสตา จูเนียร์ (Dr Ciniro Costa Junior) จาก Alliance of Bioversity International และ International Center for Tropical Agriculture (CIAT)พันธมิตรและองค์กรวิจัยเพื่อการพัฒนาระดับนานาชาติที่นำเสนอหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ แนวทางปฏิบัติในการจัดการ และตัวเลือกนโยบายเพื่อใช้และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตรเพื่อบรรลุความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการโดยทำงานร่วมกับพันธมิตรในประเทศที่มีรายได้ต่ำในภูมิภาคต่างๆ ที่ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตรสามารถทำได้ นำไปสู่การปรับปรุงโภชนาการ ความยืดหยุ่น การผลิตและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวในการนำเสนอ

ผู้เข้าร่วมประชุมทำกิจกรรมครั้งนี้ยังได้มีโอกาสกลับมาวิสัยทัศน์ที่ได้วาดไว้โดยนักวาดภาพประกอบกราฟิกร่วมกันอีกครั้ง แผนภาพนี้นับเป็นความพยายามในการทำงานร่วมกันของแต่ละหน่วยงาน โดยได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมาย ค่านิยม และการดำเนินการร่วมกัน วิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมระบุและจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการที่สามารถเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่เส้นทางการลดคาร์บอน โดยใช้กระบวนการสร้างรายละเอียดภาพอนาคตย้อนกลับ (Backcasting) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงวิสัยทัศน์อนาคต กับทางเลือกของการบริหารจัดการในปัจจุบัน ซึ่งอาศัยการเรียงลำดับเหตุการณ์แบบย้อนกลับ โดยผู้เข้าร่วมได้ระบุถึงช่องโหว่ของการดำเนินการ และจัดลำดับความเร่งด่วนในการดำเนินการในช่วงเวลาต่าง ๆ และในช่วงท้าย ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกจากภาคเอกชนจากการนำเสนอโมเดลธุรกิจด้านเทคโนโลยีและการเงินสำหรับเกษตรกร

ไม่ว่าจะเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนหรือการทำให้คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ต้องมีการกำหนดข้อมูลฐาน เนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและใช้เวลา จึงคุ้มค่าที่จะสร้างวินัยของเกษตรกรในการบันทึกข้อมูลด้วยตนเอง” คุณเดวิด เชิน (David Chen) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AgriG8 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีทางการเงินที่ใช้ในการเกษตร จากประเทศสิงคโปร์ กล่าว

ภาพวิสัยทัศน์การเปลี่ยนผ่านไปสู่เส้นทางการลดคาร์บอน โดย Eisen Bernardo

Gearing up for COP27

Teerapong Juntornniyom, Advisor to the Oil Palm and Palm Oil Research and Innovation Institute, Prince of Songkhla University

การเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุม COP27

งานในวันที่ 2 และ 3 ได้เน้นเรื่องกระบวนการและมาตรการในการเจรจานโยบายสภาพภูมิอากาศตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) นอกจากสมาชิก ASEAN-CRN แล้ว ผู้แทนหลักในกลุ่มเจรจาด้านการเกษตรของอาเซียน (ANGA) ยังได้ฝึกฝนทักษะการเจรจาต่อรองเรื่องสภาพภูมิอากาศเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุม COP27 ที่จะจัดขึ้น คุณ Gonçalo Cavalheiro วิทยากรผู้ฝึกสอนนักเจรจาต่อรองมาเป็นเวลานาน ได้อธิบายถึงกระบวนการเจรจาของ UNFCCC ให้กับผู้แทนหลักของ ANGA ในระหว่างการฝึกอบรมฯ นักเจรจาต่อรองที่มีประสบการณ์หลายท่านได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึก โดยหัวข้อการสนทนาหลักยังคงอยู่ในเรื่องของ KJWA ถึงจุดยืนที่จะนำเสนอใน COP27 การฝึกอบรมฯ ได้จบลงด้วยการจำลองเหตุการณ์การเจรจาต่อรองของผู้แทนหลักของ ANGA ที่ทำหน้าที่เป็นผู้เจรจาต่อรองสภาพภูมิอากาศ

“นักเจรจาที่ดีต้องมีทั้งทักษะด้านวิชาชีพ (Hard skills) และทักษะด้านสมรรถนะ (Soft skills) การสื่อสารที่แข็งแกร่ง การฟังอย่างกระตือรือร้น ความสนใจในผู้อื่นอย่างแท้จริง ความสามารถในการไว้วางใจผู้อื่น และความซื่อสัตย์ ล้วนเป็นทักษะที่สำคัญท่ามกลางทักษะอื่นๆ ในด้านต่างๆ” คุณ Gonçalo Cavalheiro หุ้นส่วน CAOS Borboletas e Sustentabilidade กล่าว

ข้อมูลเกี่ยวกับงาน
สำนักงานวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติอินโดนีเซีย (BRIN) ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรของประเทศไทย (DOA) ในฐานะประธาน ASEAN-CRN ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน “การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเกษตรและอาหารที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ: กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และการฝึกอบรมการเจรจานโยบายสภาพภูมิอากาศ” ในรูปแบบไฮบริดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าร่วมได้ทั้งทางออนไลน์และในสถานที่ได้ ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้แทนระดับประเทศในฐานะผู้แทนหลักของ ASEAN-CRN และ ANGA ในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน องค์กรพัฒนา และองค์กรพัฒนาเอกชน งานนี้ร่วมกันจัดโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ผ่าน “โครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน” (ASEAN AgriTrade) สนับสนุนโดย กระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) และองค์กรสนับสนุนอื่นๆ ได้แก่ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (FAO-RAP), กลไกการหารือระดับภูมิภาคที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน (E-READI), และสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (MI) ในนามของโครงการ ASEAN AgriTrade สามารถดูเอกสารประกอบการประชุมได้ที่ ลิ้งค์นี้

แกลเลอรี่ภาพ

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

  • 224
  • 46,358
  • 1,580,465

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN
Scroll to Top