Category: อาเซียน

อาเซียน เปิดตัว แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อต่อยอดทักษะการค้าของเอสเอ็มอีไทยและภูมิภาค

เรื่องและภาพ : ญาณินท์ ศรีอุดมพงษ์ / GIZ Thailand (จากซ้ายไปขวา) นายอัมรี บุคคารี บัคติยา สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat นางสาวอรวรินทร์ โหตรภวานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อรรดา คอร์ปอเรชั่น จำกัด นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย และนางสาวมาลัย กรแก้วสมนึก ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดกลาง

การออกแบบเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตร

เรื่องและภาพ: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 GIZ ร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอาเซียน จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคสำหรับโครงการ “การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน” (Agri-Climate Risk Financing) เพื่อยกระดับการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้กับเกษตรกรทั้งชายและหญิงให้มีศักยภาพในการปรับตัวและตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ พร้อมทั้งระบุถึงความต้องการเฉพาะของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States) ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ คุณเมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ ผู้จัดการโครงการการพัฒนาบริการทางการเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศเกริ่นนำเกี่ยวกับโครงการและกล่าวนำเข้าสู่การประชุมในหัวข้อแรก “เหลียวหลัง แลหน้า” เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง GIZ และชาติสมาชิกอาเซียน ในการทำงานร่วมกันภายใต้โครงการ การประชุมในครั้งนี้มีตัวแทนจากคณะทำงานด้านพืชของอาเซียน (ASEAN Sectoral Working

อาเซียนผนึกกำลังในการมุ่งสู่ระบบเกษตรและอาหารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เรื่อง เครือข่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน ภาพ: GIZ/Anggara Mahendra ผู้แทนระดับชาติในฐานะผู้แทนหลักของเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน (ASEAN Climate Resilience Network: ASEAN-CRN) และพันธมิตร จำนวนราว 30 คน เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ  “การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเกษตรและอาหารที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ: กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และการฝึกอบรมการเจรจานโยบายสภาพภูมิอากาศ” ระหว่าง27-29 กันยายน 2565 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการปล่อยคาร์บอนต่ำและสุทธิเป็นศูนย์ในภาคการเกษตร และเสริมสร้างทักษะพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อนำวาระความร่วมมือด้านเกษตรโคโรนีเวีย (KJWA) มาร่วมเจรจาในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (Conference of the Parties: COP27) รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานในเครือข่าย

เพิ่มศักยภาพการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อสร้างภูมิทัศน์ที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ศนิวาร บัวบาน โครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน (ASEAN AgriTrade) การบรรลุเป้าหมายร่วมกันเรื่องการสร้างความยืดหยุ่นและภูมิทัศน์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นไปตามข้อตกลงจากการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) จำเป็นต้องมีเป้าหมายการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง  จีไอแซดประเทศไทยโดย GIZ ประเทศไทยโดยโครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน (ASEAN AgriTrade) สนับสนุนโดย กระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) ร่วมกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาจัดการประชชุดของการประชุมเสมือนจริงนี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจในนโยบายสภาพภูมิอากาศ ปฏิญญา และโครงการที่ริเริ่มจาก COP26 รวมทั้งผลกระทบต่อการผลักดันภูมิทัศน์ที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก งานประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเพื่อการพัฒนาจำนวนมาก ประกอบด้วยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มพันธมิตรด้านสภาพภูมิอากาศและอากาศบริสุทธิ์ โครงการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า

เพิ่มศักยภาพนวัตกรรมการประกันภัยทางการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน หนุนเกษตรกรเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ผู้เชี่ยวชาญภาคการเกษตรและประกันภัยแนะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมและเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเร่งด่วน เพื่อจัดการความเสี่ยงทางการเกษตรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร การเงิน รวมถึงตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนกว่า 60 คน เข้าร่วมพูดคุยและประเมินบทบาทด้านการเงิน นวัตกรรม เทคโนโลยีสำหรับการประกันภัยภาคการเกษตรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการความเสี่ยงทางการเงินของภาคการเกษตรเป็นประเด็นสำคัญที่มีการถกรายละเอียดเชิงลึกในเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งล่าสุด จัดโดยสำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ร่วมกับเครือข่ายการประกันภัยรายย่อย (Microinsurance Network: MiN)  และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit: GIZ) ประจำประเทศไทย การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร การเงิน รวมถึงตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนกว่า 60 คน เข้าร่วมพูดคุยและประเมินบทบาทด้านการเงิน

Scroll to Top