Category: ข่าว

ชาวลุ่มน้ำยม-น่าน ร่วมใจฝึกฝนรับมือวิกฤตน้ำจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

เรื่อง: รวิวรรณ บุญไชย ภาพ: พงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม/กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร ผู้แทนจากกรมชลประทาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ตัวแทนผู้ใช้น้ำ และตัวแทนชุมชนในพื้นที่โครงการ จำนวน 16 คนเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการน้ำที่ยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำยมระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2567 ที่โรงแรมหรรษนันท์ จังหวัดพิษณุโลก ลุ่มแม่น้ำยม-น่าน มีพื้นที่มากกว่า 200 ตารางกิโลเมตร กินพื้นที่มากถึงสามจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัยและอุตรดิตถ์ เป็นที่อยู่อาศัยของเกษตรกรมากถึง 20,000 ครัวเรือน  อย่างไรก็ตามเกษตรกรในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้ง

ตัวแทนภาครัฐและเอกชนของอาเซียน แอคเซส ร่วมหารือเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มอย่างยั่งยืน

เรื่อง: ญาณินท์ ศรีอุดมพงษ์ ภาพ: รัตชปรัจศ์ สาแก้ว ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประเทศไทย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาครัฐและเอกชนของอาเซียน แอคเซส ร่วมหารือเพื่อวางแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาแพลตฟอร์มระดับภูมิภาค พร้อมแลกเปลี่ยนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และวิธีการใช้แพลตฟอร์มให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประชุมประจำปีของสมาชิกอาเซียน แอคเซส ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครระหว่างวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โดยมีผู้แทนกว่า 26 คน จากหน่วยประสานงานกลางของแต่ละประเทศ (National Focal Point) พันธมิตรเครือข่าย (Network Partners) และทูตกิจกรรมอาเซียน

ไทย-เยอรมัน ส่งเสริมชาวนาปลูกข้าวลดโลกร้อน พร้อมปรับตัวสู่วิถีเกษตรยั่งยืน

เรื่องและภาพ:กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร/GIZ ประเทศไทย ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ดร.ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ (H.E. Dr. Frank-Walter Steinmeier) และภริยานางเอลเคอ บือเดนเบนเดอร์ (Elke Budenbender) พร้อมคณะ รับฟังการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการระบบการผลิตข้าวยั่งยืนแบบองค์ (Inclusive Sustainable Rice Landscapes Project)จากดร.อรรถวิชย์ วัชรพงศ์ชัย ผู้จัดการโครงการฯ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ดร.ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ (H.E. Dr. Frank-Walter Steinmeier) และภริยานางเอลเคอ บือเดนเบนเดอร์ (Elke Budenbender) พร้อมคณะ รับฟังการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการระบบการผลิตข้าวยั่งยืนแบบองค์

ธ.ก.ส. – GIZ กระชับความร่วมมือพัฒนาการเกษตรที่เท่าทันต่อภูมิอากาศในประเทศไทย

เรื่อง: เมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ ภาพ:ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายไรน์โฮลด์ เอลเกส (Reinhold Elges) ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศมาเลเซีย มัลดีฟส์ เมียนมาร์ เนปาล สิงคโปร์ ศรีลังกา ประเทศไทย และ ดร. นานา คึนเคล (Dr Nana Kuenkel) ผู้อำนวยการและผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทยเข้าพบ นายเชษฐา แหล่ป้อง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่สำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร การเข้าพบในครั้งนี้เน้นย้ำถึงการดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องภายใต้การลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)

เสริมความพร้อมเกษตรกรสตรีรับมือและปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศ

เรื่องและภาพโดย เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อแต่ละคนไม่เท่ากัน โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มชายขอบและไม่ได้รับความเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านเพศสภาพ ชาติพันธุ์ และปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น ด้วยเหตุนี้ โครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (Building a Climate Resilient Potato Supply Chain Through a Whole-Farm Approach: RePSC) จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “สตรีเกษตรอาสา ลดก๊าซเรือนกระจก” เป็นเวลาสองวันที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ทำงานของโครงการฯ

โครงการนำร่องการใช้ประโยชน์ฟางข้าวอย่างยั่งยืน ร่วมจัดฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักและหยุดการเผา ณ จังหวัดเชียงราย

เรื่อง: ศิวพร แก้วชุ่มชื่น/กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร กิจกรรม ฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักและหยุดการเผา พื้นที่ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ ปางกลาง ปางต้นผึ้ง และปางอาณาเขต ของตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่นำร่องด้านการพัฒนา ด้านความมั่นคงทางอาหาร และด้านการพัฒนาอาชีพตามแผนการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ระยะ 8 ปี (พ.ศ. 2563–2570) ซึ่งปัจจุบันทั้ง 3 หมู่บ้านอยู่ในเขตของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อย่างไรก็ตามในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ชุมชนได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐานจากเมืองกรุงกลับสู่ภูมิลำเนา และกลับมาทำอาชีพเกษตรดั้งเดิม เช่น ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จึงทำให้มีเศษวัสดุทางการเกษตรตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก

Scroll to Top