23 มิถุนายน 2565

เพิ่มศักยภาพการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อสร้างภูมิทัศน์ที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ศนิวาร บัวบาน โครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน (ASEAN AgriTrade)

การบรรลุเป้าหมายร่วมกันเรื่องการสร้างความยืดหยุ่นและภูมิทัศน์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นไปตามข้อตกลงจากการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) จำเป็นต้องมีเป้าหมายการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง  จีไอแซดประเทศไทยโดย GIZ ประเทศไทยโดยโครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน (ASEAN AgriTrade) สนับสนุนโดย กระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) ร่วมกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาจัดการประชชุดของการประชุมเสมือนจริงนี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจในนโยบายสภาพภูมิอากาศ ปฏิญญา และโครงการที่ริเริ่มจาก COP26 รวมทั้งผลกระทบต่อการผลักดันภูมิทัศน์ที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

งานประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเพื่อการพัฒนาจำนวนมาก ประกอบด้วยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มพันธมิตรด้านสภาพภูมิอากาศและอากาศบริสุทธิ์ โครงการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ของประเทศญี่ปุ่น สำนักงานเลขาธิการอาเซียน คณะทำงานของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน และกลุ่มเจรจาด้านการเกษตรของอาเซียน

วัตถุประสงค์เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมสมัชชาประเทศภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ไปสู่การประชุมสมัชชาประเทศภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP27) ผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้มาพบปะร่วมกันในงาน “การเพิ่มศักยภาพการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อสร้างภูมิทัศน์ที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก: ในการนำไปสู่ COP27” โดยแบ่งการประชุมออกเป็นทั้งหมด 3 ครั้งตลอดเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดอภิปรายและวิเคราะห์ผลจาก COP26 โดยละเอียด

การประชุมครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อวันที่1-3 มีนาคม 2565 เป็นการรวบรวมผลลัพธ์ที่สำคัญจาก COP26 สำหรับภาคการใช้ประโยชน์ที่ดินในเอเชียแปซิฟิก งานนี้เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของภาคเกษตร การใช้ประโยชน์ที่ดิน และป่าไม้ เพื่อสนับสนุนปฏิญญาด้านสภาพภูมิอากาศของแต่ละประเทศ ซึ่งรวมถึงเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และปฏิญญามีเทนโลก ซึ่งไม่ว่าจะเป็น การแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน กลยุทธ์ในระยะยาว แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDCs) ล้วนแต่เป็นกลไกในการนำพาประเทศไปสู่เป้าหมาย ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นประเทศแรกๆ ที่ได้ลงนามในปฏิญญามีเทนโลก และเพื่อให้เป็นไปตามปฏิญญาด้านสภาพภูมิอากาศของแต่ละประเทศ  ประเทศสมาชิกควรบูรณาการเครื่องมือและแนวทางที่มีอยู่ให้สอดคล้องกัน เช่น การทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนการใช้ที่ดินและภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคพลังงานและการนำแนวปฏิบัติของเกษตรกรรมอัจฉริยะด้านสภาพภูมิอากาศ มาใช้ เช่น ระบบการทำฟาร์มแบบบูรณาการ นิเวศเกษตร วนเกษตร

อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมยังคงมีคำถามเกี่ยวกับประเด็นของ อุปสงค์และอุปทานสินเชื่อป่าไม้ ผลกระทบของมาตรา 6 ของข้อตกลงปารีส ประเด็นความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม และสถานะของเอเชียแปซิฟิกเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ และบริบททั่วโลก ที่ยังคงคลุมเครือและยังไม่ได้รับคำตอบจากการอภิปรายในครั้งนี้ ซึ่งอาจมีการหารือเพิ่มเติมในอนาคต

การประชุมครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15-16 มีนาคม 2565) อภิปรายถึงการปรับเปลี่ยนภาคเกษตรด้วยแนวปฏิบัติที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ โดยเน้นที่บทบาทของนโยบายภูมิอากาศ เช่น ปฏิญญามีเทนโลก ปฏิญญาชาร์ม เอล-ชีค, และการทำงานร่วม Koronivia (KJWA) นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอรายงานของคณะทำงานที่ 2 เกี่ยวกับผลกระทบ การปรับตัว และความเปราะบาง ที่เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เพื่ออัปเดตสถานการณ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ นอกจากนี้ ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนได้นำเสนอเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติที่ทางประเทศได้ดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง (AWD) ระบบการติดตาม รายงาน และตรวจสอบ (MRV) ซึ่งมีความสำคัญสำหรับการติดตาม NDCs และการเกษตรอัจฉริยะในด้านสภาพภูมิอากาศ (CSA) สำหรับการทำปศุสัตว์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนเป็นการเกษตรที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำนั้นจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ผู้เข้าร่วมคาดหวังว่าภาคเกษตรของอาเซียนจะเป็น ‘ระบบเกษตร-อาหารที่ยืดหยุ่น มีความหลากหลายทางชีวภาพ และปลอดมลภาวะ ซึ่งจะเป็นแหล่งผลิตอาหารเพื่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการแก่ทุกคนในทวีปเอเชียภายในปีพ.ศ. 2593’ เส้นทางสู่วิสัยทัศน์ที่ตกลงร่วมกันนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียหลักทั้งหมดเช่น เกษตรกร ผู้ผลิตอาหาร หุ้นส่วนการพัฒนา องค์กรอิสระ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน รัฐบาล สถาบันการศึกษา นักวิจัย ซึ่งความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ นั้นมีความจำเป็นในการนำไปสู่อนาคตที่เราต้องการ ทั้งนี้ นโยบายของภาครัฐ การเงิน ความตระหนัก เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการศึกษา ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเส้นทางสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้

“เพื่อสร้างหลักประกันในความมั่นคงด้านอาหารไปพร้อมๆ กับการจัดการกับความท้าทายด้านความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการเติบโตของประชากรโลก เราจำเป็นต้องสร้างระบบอาหารที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ อย่างไรก็ตาม ไม่มีวิธีแก้ปัญหาใดที่ใช้ได้ในทุกสถานการณ์สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปเป็นระบบอาหารที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ แต่ละประเทศในภูมิภาคต้องหาทางแก้ไขตามสถานการณ์โดยรอบประเทศและภูมิภาค” คำกล่าวต้อนรับจากนาย Toyohisa Aoyama อธิบดีกรมวิทยาการ กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง ประเทศญี่ปุ่น

การประชุมครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการนำไปสู่วิสัยทัศน์ที่วาดไว้ผ่านความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ หน่วยงานราชการ และหน่วยงานพัฒนาระหว่างประเทศ โดยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้นำเสนอนโยบาย/แผน/แผนงาน รวมทั้งมาตรการ และเครื่องมือต่างๆ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ องค์กรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์มีแผนงานและกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสำหรับนวัตกรรมทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม การได้รับการสนับสนุนในระยะยาวนั้นมีความสำคัญในความพยายามปรับตัวของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยงานนี้เป็นเหมือนเวทีเริ่มต้นสำหรับแต่ละองค์กรได้มีโอกาสหาพันธมิตรภายในอาเซียน และเดินหน้าร่วมมือกันต่อไปในอนาคต

ประเด็นสำคัญคือจะแน่ใจได้อย่างไรว่าได้มีการพัฒนาการเกษตรในวิถีที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น เพื่อความยั่งยืน อาเซียนได้พยายามพัฒนานโยบายและกรอบการทำงานเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียนในภาคเกษตร และเพื่อตอบสนองความต้องการนี้ อาเซียนกำลังพัฒนายุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน และแนวทางระดับภูมิภาคเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนในอาเซียน” ส่วนหนึ่งของคำปราศรัยโดย ดร. Pham Quang Minh หัวหน้าแผนกอาหาร การเกษตร และป่าไม้ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

เอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวการประชุมได้ที่สามารถดาวน์โหลดได้  ที่นี่

*วาดประกอบจาก Eisen Bernardo สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงวาดแผนภาพอนาคตที่ต้องการร่วมกันสำหรับการเกษตรที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในเอเชีย ภายในปีพ.ศ. 2593 

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN