Category: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อาเซียนผนึกกำลังในการมุ่งสู่ระบบเกษตรและอาหารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เรื่อง เครือข่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน ภาพ: GIZ/Anggara Mahendra ผู้แทนระดับชาติในฐานะผู้แทนหลักของเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน (ASEAN Climate Resilience Network: ASEAN-CRN) และพันธมิตร จำนวนราว 30 คน เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ  “การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเกษตรและอาหารที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ: กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และการฝึกอบรมการเจรจานโยบายสภาพภูมิอากาศ” ระหว่าง27-29 กันยายน 2565 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการปล่อยคาร์บอนต่ำและสุทธิเป็นศูนย์ในภาคการเกษตร และเสริมสร้างทักษะพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อนำวาระความร่วมมือด้านเกษตรโคโรนีเวีย (KJWA) มาร่วมเจรจาในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (Conference of the Parties: COP27) รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานในเครือข่าย

เพิ่มศักยภาพการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อสร้างภูมิทัศน์ที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ศนิวาร บัวบาน โครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน (ASEAN AgriTrade) การบรรลุเป้าหมายร่วมกันเรื่องการสร้างความยืดหยุ่นและภูมิทัศน์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นไปตามข้อตกลงจากการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) จำเป็นต้องมีเป้าหมายการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง  จีไอแซดประเทศไทยโดย GIZ ประเทศไทยโดยโครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน (ASEAN AgriTrade) สนับสนุนโดย กระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) ร่วมกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาจัดการประชชุดของการประชุมเสมือนจริงนี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจในนโยบายสภาพภูมิอากาศ ปฏิญญา และโครงการที่ริเริ่มจาก COP26 รวมทั้งผลกระทบต่อการผลักดันภูมิทัศน์ที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก งานประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเพื่อการพัฒนาจำนวนมาก ประกอบด้วยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มพันธมิตรด้านสภาพภูมิอากาศและอากาศบริสุทธิ์ โครงการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า

Scroll to Top