17 พฤษภาคม 2564

2 บริษัทผู้ผลิตน้ำมันปาล์มของไทยย้ำ “การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน” สำคัญที่สุด

เรื่อง: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร

การขับเคลื่อนแนวทางเพื่อการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน ต้องมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน แต่ในฐานะผู้ผลิตของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีบทบาทในการผลิตอย่างมาก จึงต้องเป็นเสาหลักสำคัญที่จะทำให้เมืองไทยเกิดการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนได้จริง

สิ่งนี้คือ ความพยายามของน้ำมันพืชปทุม และน้ำมันพืชมรกต 2 ผู้ผลิตที่ใส่ใจความยั่งยืนในเมืองไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญ และร่วมกันผลักดันการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

คุณศาณินทร์ ตริยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำมันพืชปทุม จำกัดและนายกสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย

คุณศาณินทร์ ตริยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำมันพืชปทุม จำกัดและนายกสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทยกล่าวว่า “การพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน ชาวสวน โรงสกัด โรงกลั่น รวมถึงโรงไบโอดีเซล และกลุ่มอุตสาหกรรมโอลีโอเคมีคัลส์ ต้องไปด้วยกัน”

สำหรับการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน คุณศาณินทร์ ให้ความเห็นไว้ว่าการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน ชาวสวน โรงสกัด โรงกลั่น รวมถึงโรงไบโอดีเซล และกลุ่มอุตสาหกรรมโอลีโอเคมีคัลส์ ต้องไปด้วยกัน

แหล่งข้อมูลจาก RSPO

เกษตรกรรายย่อยที่ปลูกปาล์มในเมืองไทยมีราวๆ 3,000 ครัวเรือน แต่ละรายมีพื้นที่อยู่ราวๆ 10-20 ไร่ ในขณะที่มาเลเซียและอินโดนิเซียมี 100 ไร่ต่อราย ฉะนั้นกำลังการผลิตที่จะนำเงินเข้ากระเป๋าพวกเขาให้ได้ จึงมีไม่มากพอ อีกทั้งยังมีต้นทุนจากปุ๋ยที่ราคาสูงมาก ซึ่งปาล์มเป็นพืชยืนต้น จะเก็บผลได้อีก 2 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นการใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องจำเป็น แต่พอต้นทุนสูง ชาวสวนก็จะไม่ใส่ปุ๋ย ผลผลิตจึงไม่มีคุณภาพ

ในส่วนของโรงงานสกัดเอง ทุกวันนี้กำลังการผลิตเดินเครื่องไม่ถึงครึ่ง แปลว่า ประสิทธิภาพของโรงสกัดไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อเกษตรกรมาขายผลผลิต ยังไงโรงงานก็ต้องแย่งกันซื้อ จึงไปบีบให้ผลผลิตไม่ต้องมีคุณภาพก็ได้ ฉะนั้นหากจะช่วยสนับสนุนชาวสวนไปสู่แนวทางความยั่งยืนได้ ต้องช่วยผลักดันให้เงินในกระเป๋าของเขาเพียงพอ ด้วยการเพิ่มคุณภาพผลผลิต แต่ไม่ใช้การยื่นปลาให้โดยไม่สอนการใช้เบ็ด เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ชาวสวนจะไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้

“ในบ้านเรามีจุดแข็ง ประการแรกคือ บ้านเราผลิตเอง บริโภคเอง แรงกดดันจากตลาดโลกน้อย หากพูดถึงในด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการปลูกปาล์มในเมืองไทยปัญหาตรงนี้อาจจะยังไม่มากเมื่อเทียบกับทางอินโดนิเซีย หรือมาเลเซีย ที่เห็นภาพของปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าอย่างชัดเจน ในเมืองไทยถือว่าเรายังไม่พบปัญหาดังกล่าว จึงถือเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะพัฒนาไปสู่มาตรฐานระดับโลก โจทย์ต่อไปคือเราจะบริหารอย่างไรในระยะยาวได้  ที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือการสนับสนุนชาวสวนไปสู่แนวทางความยั่งยืนได้ ต้องช่วยผลักดันให้เงินในกระเป๋าของชาวสวนเพียงพอ ด้วยการเพิ่มคุณภาพผลผลิต นั่นคือข้อเท็จจริงที่สำคัญ เมื่อปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO เกษตรกรสามารถลดต้นทุน ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ทำให้จำหน่ายได้ราคามากขึ้น นำไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้น ชีวิตดีขึ้น ส่งผลดีไปยังสังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว แต่ในเมืองไทยภาพเหล่านั้น เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น ต้องยอมรับว่าในช่วงระยะแรก เป็นเรื่องยากมาก ต้องอาศัยความต่อเนื่อง และเมื่อทำได้ ก็จะเห็นผลสำเร็จที่คุ้มค่าจริงๆ ครับ” คุณศาณินทร์กล่าว

คุณนุชนาถ สุขมงคล
ผู้จัดการทั่วไป
บริษัท มรกต อินดัสตรีส์
จำกัด มหาชน
คุณนุชนาถ สุขมงคล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท มรกต อินดัสตรีส์ จำกัด มหาชน กล่าวว่า “การที่จะทำให้น้ำมันปาล์ม ได้รับการยอมรับในตลาดโลก ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความยั่งยืน โดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจจะต้องใส่ใจกับประโยชน์ส่วนรวมด้วย” “น้ำมันปาล์ม เป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งของโลก เนื่องจากว่าน้ำมันปาล์มใช้ในการบริโภค แล้วยังนำไปใช้ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ใช้ในการผลิตอาหาร เครื่องสำอาง ต่อยอดไปอีกในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ เรียกได้ว่า ตื่นเช้ามาทุกคน จะได้ใช้ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์ม ตั้งแต่สบู่ ยาสีฟัน ส่วนที่เห็นชัดเจนคือนำมาประกอบอาหาร เพราะน้ำมันปาล์มเองสามารถทนความร้อนได้สูง ทำให้ไม่เกิดสารก่อมะเร็ง เหมาะกับเมนูผัดและทอด ไทยสามารถที่จะผลิตน้ำมันปาล์มได้เอง แล้วเราเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มอันดับสามของโลก รองจากประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย ทำให้เราเกิดมูลค่าเพิ่มและมีรายได้เข้าสู่ประเทศไม่น้อย ดังนั้น การที่จะทำให้น้ำมันปาล์มได้รับการยอมรับในตลาดโลกได้มากขึ้น ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความยั่งยืน โดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจจะต้องใส่ใจกับประโยชน์ส่วนรวม เพื่อนำไปพัฒนาสังคมที่มีความยั่งยืนควบคู่กันไป วันนี้ความยั่งยืนจึงกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ายอมรับ และสังคมมีความเชื่อมั่น
แหล่งข้อมูลจาก RSPO
ข้อดีของการปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มากขึ้น ซึ่งเกษตรกรที่ทำแล้วจริง ๆ เป็นคนบอกกับเราเองว่าต้นทุนของเขาลดลง ซึ่งมาจากการที่เขาจดบันทึก ทำให้รู้ว่าต้นทุนอยู่ตรงไหน และสามารถดูแลจัดการบริหารต้นทุนของตัวเองได้มากขึ้น ไปจนถึงการใช้ปุ๋ย อย่างเหมาะสม ควรใส่ปุ๋ยเท่าไหร่ ใส่ปุ๋ยเมื่อไหร่ เป็นการทำสวนที่มีระบบมากขึ้น รายได้ก็เพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เองที่ควรจะพูดให้เกษตรกรเข้าใจ เพราะไม่อย่างนั้นเขาจะไปโฟกัสแต่เรื่อง “ราคา” ที่ว่าจะเมื่อได้การรับรองมาตรฐาน RSPO แล้วจะทำให้ขายได้ราคาสูงขึ้นไหม ซึ่งจริง ๆ แล้วมีประโยชน์มากกว่าเรื่องของราคา เพราะการรับรองมาตรฐาน RSPO จะนำไปสู่การต่อยอดในเรื่องของการทำการตลาดให้เกษตรกรได้นั่นเอง การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในไทย ไม่ได้เป็นเพียงแค่ภาพฝันจาก 2 บริษัทผู้ริเริ่มเท่านั้น แต่ยังเป็นการปฏิบัติอย่างจริงจังที่เกิดขึ้นแล้ว ตอนนี้ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จับมือกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำลังพัฒนาศักยภาพของพี่ ๆ น้อง ๆ เกษตรกรชาวสวนปาล์มกลุ่มๆ อื่น ๆ ในการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน RSPO อย่างเข้มข้นพราะเราอยากเห็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกร และอยากให้ การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เกิดขึ้นทั่วเมืองไทย เพื่อสร้างความมั่นคงในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มให้มีความยั่งยืนไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อๆ ไป” คุณนุชนาถกล่าว ■

บทความที่เกี่ยวข้อง

เปิดตัว “i-PALM” แอพพลิเคชั่น พร้อมให้เกษตรกรสวนปาล์มไทยใช้งานได้แล้ว

เรื่อง: ธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (Sustainable and Climate-Friendly P...


อ่านเพิ่มเติม »

ภาคธุรกิจเสนอแนวทางผนึกกำลังยกระดับตลาดน้ำมันปาลม์ไทยสู่วิถียั่งยืน

เขียนโดย : Agriculture and Food Cluster Team วงสัมมนาธุรกิจปาล์มชี้ชัด ภาครัฐ นักธุรกิจ และผู้บริโภค เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนน้ำมันปาล์มยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ด้วยกา...


อ่านเพิ่มเติม »

“ผลิตภัณฑ์อินทรีย์” อาชีพเสริมสร้างรายได้งามจากสวนปาล์มน้ำมัน

เรื่องโดย: ธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ/ Food and Agriculture Cluster/ GIZ Thailand ปัจจุบันอาชีพเสริมทางการเกษตรได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรปาล์มน้ำมันที่ต้องเผชิญกับความผันผวนขอ...


อ่านเพิ่มเติม »

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN