10 พฤศจิกายน 2565

ความยั่งยืนเกิดขึ้นได้เมื่อพันธมิตรภาคียอมรับ

เขียนโดย: วัลนิภา โสดา, ผู้จัดการฝ่ายประสานงานภาครัฐและผลผลิตกาแฟ, โครงการคอฟฟีพลัส ประเทศไทย

องค์ความรู้ เครื่องมือและวิธีการทำงาน ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยโครงการคอฟฟีพลัสมีความยั่งยืนได้ด้วยการทำให้พันธมิตรภาคีและเกษตรกร จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน

โครงการพัฒนาระบบการผลิตกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (โครงการคอฟฟีพลัส) เป็นโครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในระดับภูมิภาค ที่ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง จีไอแซด(GIZ) และบริษัท เนสเล่ ซึ่งดำเนินโครงการใน 3 ประเทศ คือ อินโนนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อย จำนวน 10,500 ราย ใน 3 ประเทศ แบ่งเป็น 7,000 รายในประเทศอินโดนีเซีย 1,500 รายในประเทศฟิลิปปินส์ และ 2,000 ราย ในประเทศไทย ด้วยการเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติทางในการจัดการฟาร์มที่ดี ประหยัด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ วิธีการทำงาน เครื่องมือและองค์ความรู้ของโครงการคอฟฟีพลัสได้ถูกดำเนินงานผ่านกระบวนการ การให้พันธมิตรภาคียอมรับและนำไปใช้ในองค์กร ผ่านความร่วมมือและการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค ประกอบด้วย

  • กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความเห็นคำแนะนำต่อการปรับยุทธศาสตร์กาแฟแห่งชาติ การสนับสนุนและร่วมดำเนินงานภายใต้นโยบายกาแฟแห่งชาติการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาแผนที่นำทางกาแฟโรบัสตา จังหวัดชุมพร (ฉบับแรก) การสนับสนุนการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์กาแฟโรบัสตา จังหวัดชุมพร
  • คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดการอบรมหลักสูตรโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตร แบบลงพื้นที่จริงและทางออนไลน์ให้กับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานของกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพรจัดสอนอบรมระยะสั้นในหลักสูตรโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร และจัดทำแปลงสาธิตที่มีระบบการปลูกพืชร่วมในสวนกาแฟ

นอกจากนี้โครงการฯได้สนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่มเกษตรกร ร่วมถึงการหารือเจรจาเชิงนโยบายกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของโครงการฯด้วยวิธีและสื่อต่างๆ เช่น การสร้างศักยภาพให้กับวิทยากร เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรด้วยการให้การอบรมในหลักสูตรโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร

เพื่อความยั่งยืนในการใช้ผลผลิตขององค์ความรู้ โครงการฯได้เตรียมความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้และทักษะให้กับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานหลักที่มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบงานด้านนี้ ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นที่เกี่ได้เข้าร่วมการอบรมในหลักสูตรโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร อาทิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเกษตรชุมพร สมาคมกาแฟแห่งประเทศไทย และกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ความสัมฤทธิ์ผลของโครงการเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาในแต่ละบทที่ใช้ในการอบรมหลักสูตรโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร ร่วมถึงวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆที่ใช้ประกอบการอบรมได้รับการยอมรับและนำไปใช้โดยกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนงานด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรในประเทศ

ยิ่งไปกว่านั้นการดำเนินงานของโครงการคอฟฟีพลัสได้สร้างพื้นที่การเรียนรู้และสาธิตการนำนโยบายภาครัฐไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการดำเนินการตามแผนงานทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค โครงการฯสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์กาแฟแห่งชาติ และแผนพัฒนาแห่งชาติทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด โดยทำงานร่วมกับสำนักงานจังหวัดในการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่เกี่ยวข้องกับพืชกาแฟโรบัสตา

เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของพันธมิตรภาคีและภาคส่วนที่เกี่ยวของเป็นไปด้วยความสะดวก ทางโครงการฯได้มีการจัดทำผลผลิตขององค์ความรู้ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ได้แก่

  • คู่มือสำหรับวิทยากรในหลักสูตรโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร
  • คู่มือสำหรับเกษตรกรในหลักสูตรโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร
  • เอกสารการปฏิบัติและเทคนิคทางการเกษตรที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน
  • เอกสารการปลูกพืชร่วม (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ)
  • หลักสูตรโรงเรียนธุรกิจเกษตรในรูปแบบวีดีโอแอนนิเมชั่น 2 มิติ
  • หลักสูตรโรงเรียนธุรกิจเกษตรในรูปแบบหนังสือการ์ตูน (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ)

ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทางโครงการฯ ได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน โดยการแปลงข้อมูลองค์ความรู้ในเอกสารไปอยู่ในรูปแบบดิจิตอลทำให้สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ในหลักสูตรโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกรในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิตอลและแอพพลิเคชั่น ไปยังศูนย์การเรียนรู้ในระดับอำเภอที่มีอยู่ 800 ศูนย์ ทั่วประเทศ ผ่านทางพันธมิตรเครือข่ายการเรียนรู้กรมวิชาการเกษตร ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างสะดวกมากขึ้น

  • กล่องความรู้สมาร์ทบ๊อกของรัฐบาล
  • แอฟพลิเคชั่น “รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร”
  • ช่องยูทูปกรมวิชาการเกษตร ในชื่อ “กรมวิชาการเกษตร DOA”

https://www.youtube.com/playlist?list=PLkNKLHFrVE9zcNfJTv-FbmoCmL1RD_AdH

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทำงานของโครงการประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย

  • ผูกพันธมิตรภาคีที่มีเป้าหมายเดียวกัน
  • สร้างความร่วมมือและการทำงานร่วมกันกับพันธมิตรภาคีด้วยกรอบการทำงานที่ออกแบบไว้เป็นอย่างดีทั้งในส่วนกลางและพื้นที่
  • พัฒนากลุ่มเป้าหมายและผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมทั้งวางเป้าหมายและโปรแกรมการทำงานร่วมกับพันธมิตรภาคี
  • มีการติดต่อสื่อสารการอย่างต่อเนื่อง
  • ทำให้พันธมิตรภาคียอมรับโดยแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของงานในโครงการ ทำให้พันธมิตรภาคีสามารถทำงานร่วมกับโครงการได้อย่างใกล้ชิดด้วยการพัฒนาขีดความสามารถของพันธมิตรภาคี จัดหาองค์ความรู้และทรัพยากรต่างๆที่เกี่ยวข้องให้กับพันธมิตรภาคีใช้ประโยชน์ มีการติดตามผลและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

สารจากพันธมิตรภาคี

ศันสนีย์ นิติธรรมยง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมไม้ยืนต้น กรมส่งเริมการเกษตร
ศันสนีย์ นิติธรรมยง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมไม้ยืนต้น กรมส่งเริมการเกษตรได้กล่าวไว้เมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 ในขณะลงพื้นที่เยี่ยมชมความสำเร็จของสวนกาแฟของเกษตรกรในโครงการคอฟฟีพลัส ณ จ. ชุมพร ว่า “วัตถุประสงค์ของโครงการคอฟฟีพลัสคือ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรทำธุรกิจอย่างยั่งยืนมีรายได้ตลอดทั้งปี และเราสามารถนำความรู้จากหลักสูตรธุรกิจเกษตรไปต่อยอดและขยายผลเพื่อเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยในจังหวัดอื่นนอกเหนือจากพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง”
สุระพงษ์ ปฏิวัฒนเสรี ผู้อำนวยการกลุ่มสาระสนเทศการเกษตร สังกัดศูนย์เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร กรมวิชาการเกษตร
สุระพงษ์ ปฏิวัฒนเสรี ผู้อำนวยการกลุ่มสาระสนเทศการเกษตร สังกัดศูนย์เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร กรมวิชาการเกษตร ได้ให้สัมภาษณ์ ไว้เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ว่า “ทางกรมวิชาการเกษตรมีความยินดีที่ได้ร่วมทำงานกับโครงการคอฟฟีพลัส (Coffee+) ของ GIZ โดยได้นำองค์ความรู้ที่ทาง GIZ ได้ทำขึ้น คือ หลักสูตรโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร ไปเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อมีเดียของกรมวิชาการเกษตร 3 ช่องทาง ได้แก่
  1. ช่องทาง SmartBox โดยในตัว SmartBox นี้ก็จะมีตัวแอปพลิเคชั่น “Pant for U” หรือ ”รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร” ซึ่ง แอปพลิเคชั่นตัวนี้สามารถดูได้ผ่านกล่อง SmartBox กับ Smart Phone ทั้งระบบ IOS & Andriod เมื่อเข้าไปจะพบ ไอคอน ที่รวมเรื่องเกี่ยวกับหลักสูตรธุรกิจเกษตรเอาไว้
  2. ช่องทางที่ 2 ทางกรมฯได้บรรจุหลักสูตรโรงเรียรธุรกิจสำหรับเกษตรกร บรรจุไว้ในช่องยูทูปของกรม ภายใต้ชื่อช่อง “กรมวิชาการเกษตร DOA” เมื่อคลิกเข้าไปก็จะพบหลักสูตรทั้ง 13 บท ในหลักสูตร
  3. ช่องทางที่ 3 ทางเว็ปไซต์ของกรมวิชาการเกษตร บนหน้าเว็ปกรมวิชาการเกษตร ในส่วนของคลังคลิปความรู้กรมวิชาการเกษตร ภายใต้ “คลิปความรู้ Smart Box ปี 2564”

วิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ในขณะนั้น ได้กล่าวไว้ในโอกาสที่มาเป็นประธานเปิดการประชุมเมื่อ20 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 ว่าการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนากาแฟโรบัสตาอย่างยั่งยืนของจังหวัดชุมพรครั้งนี้จะเป็นการกำหนดทิศทางและการพัฒนากาแฟโรบัสตาของจังหวัดชุมพรทั้งระบบแบบเชิงรุกเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนทั้งภาคการผลิต การแปรรูป และ การตลาดกาแฟโรบัสตาของจังหวัดชุมพรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กาแฟแห่งชาติ โดยแผนยุทธศาสตร์ที่จะจัดทำขึ้นจะเป็นโอกาสและปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันหารือและมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ โดยมุ่งหมายตามภารกิจและสัมฤทธิผลตามเป้าประสงค์ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ฐิติมา จรูญรัตน์ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานีกล่าวว่าเมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 หลังเข้ารับการอบรมในหลักสูตรโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกรผ่านระบบออนไลน์ “เป็นครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมอบรมกับโครงการและเห็นว่าความรู้ที่ได้จากโครงการเป็นประโยชน์กับเจ้าหน้าที่เกษตร สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรเวลาลงพื้นที่ได้ทุกครั้ง นอกจากนี้เห็นว่าควรมีการจัดอบรมหลักสูตรธุรกิจการเกษตรรูปแบบออนไลน์ให้กับเกษตรกรรุ่นใหม่ต่อไปในอนาคตเพื่อที่พวกเขาจะได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะการจัดการเกษตรที่เป็นประโยชน์ ช่วยนำไปสู่การปฎิบัติจริงและรับช่วงวิถีเกษตรจากครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว” ■

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

วิดีโอ

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN