09 เมษายน 2564

เกษตรกรต้องรู้: 12 บทเรียนสำคัญสู่การเป็น “นักธุรกิจเกษตรมืออาชีพ”

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้โครงการพัฒนาระบบการผลิตกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ คอฟฟี่พลัส (Coffee+) เปิดตัวสื่อการเรียนการสอนรูปแบบแอนิเมชั่นออนไลน์สำหรับหลักสูตร “โรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร” (Farmer Business School: FBS)

หลักสูตรออนไลน์นี้ได้รับการออกแบบเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยเรียนรู้วิธีการต่อยอดความรู้และทักษะสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรเชิงธุรกิจ (Agri-preneurship) และมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP)

เนื้อหาของวิดีโอมุ่งเน้นให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อย โดยเฉพาะผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้าทางจังหวัดภาคใต้ของไทย สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปสู่การลงมือปฏิบัติผ่านการใช้เแบบฝึกหัดเป็นตัวเสริมสร้างความรู้และทักษะที่สำคัญในการทำเกษตรเชิงธุรกิจ รวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ปฏิทินเกษตร การจดบันทึกกิจการฟาร์ม การทำรายรับและรายจ่าย เป็นต้น

“แม้ว่าเรายังคงต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 แต่กิจกรรมต่าง ๆ ยังคงต้องดำเนินต่อไปและเราต้องรู้จักมองหาโอกาสในวิกฤติอยู่เสมอ จึงเป็นที่มาของการนำเสนอคลิปวิดิโอและสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์เพื่อสเสริมสร้งศักยภาพเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกกาแฟ รวมทั้งพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้แก่ ทุเรียน และ หมาก เป็นต้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางในการทำเกษตรเชิงธุรกิจหรือเชิงพาณิชย์อย่างชัดเจน เพื่อเชื่อมโยงการผลิตกับการตลาดได้อย่างครบวงจร สิ่งนี้จะช่วยให้เกษตรกรสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันด้านการตลาด และสามารถทำกำไรจากธุรกิจฟาร์มได้” พจมาน วงษ์สง่า ผู้อำนวยการโครงการคอฟฟี่พลัสกล่าว 

กิจกรรมต่าง ๆ ที่นำเสนอผ่านคลิปวิดิโอมีทั้งหมด 12 ตอน ซึ่งนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบการเล่าเรื่องที่เข้าใจง่ายและเน้นการนำไปปฏิบัติได้จริง ดังนี้

“นอกจากคลิปวิดิโอแล้ว โครงการฯ ยังได้จัดทำคู่มือหลักสูตรในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Books) ให้ดาวน์โหลดได้ฟรีผ่านทางเว็บไซต์ของ กลุ่มการเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งช่วยให้เกษตรกรได้เรียนรู้การวางแผนการผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ และยังเพิ่มความรู้ความสามารถให้แก่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากร ถ่ายทอดองค์ความรู้ในหลักสูตรให้กับเกษตรกรอีกด้วย” นางพจมานกล่าวเสริม

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN