Category: คอฟฟี่พลัส ประเทศไทย

แบ่งปัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้: แนวทางสร้างศักยภาพกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้า

เรื่องและภาพ ชลทิพย์ กลิ่นศรีสุข และวีรินทร์ภัทร์ เจนวัฒนากูล การรวมกลุ่มของเกษตรกรนับเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างความยั่งยืนด้านการเกษตรของทั้งตัวเกษตรกรและชุมชน  กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟชุมชนห้วยนายร้อย  อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง คือหนึ่งในตัวอย่างสำคัญของโครงการพัฒนาระบบการผลิตกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือคอฟฟีพลัส แม้ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มแบบไม่เป็นทางการแต่สมาชิกทั้งหมดล้วนมีความมุ่งมั่นและตั้งใจ  พัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของตนเองและกลุ่มในการจัดการปลูกกาแฟโรบัสต้า ด้วยเหตุนี้ โครงการคอฟฟีพลัสจึงได้เริ่มจัดอบรมหลักสูตร “โรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร (Farmer Business School)” เมื่อปี พ.ศ. 2562 เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้ารู้จักการวางแผนการเพาะปลูก มีการจดบันทึกรายจ่าย-รายรับ เพื่อให้ทราบต้นทุน กำไร เรียนรู้การกระจายความเสี่ยงโดยการปลูกพืชที่หลากหลาย  พร้อมเทคนิคเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกาแฟชุมชนห้วยนายร้อยจำนวน 17 คน ศึกษาดูงานที่ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนหมู่ 3 ตำบล

ความยั่งยืนเกิดขึ้นได้เมื่อพันธมิตรภาคียอมรับ

เขียนโดย: วัลนิภา โสดา, ผู้จัดการฝ่ายประสานงานภาครัฐและผลผลิตกาแฟ, โครงการคอฟฟีพลัส ประเทศไทย องค์ความรู้ เครื่องมือและวิธีการทำงาน ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยโครงการคอฟฟีพลัสมีความยั่งยืนได้ด้วยการทำให้พันธมิตรภาคีและเกษตรกร จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครงการพัฒนาระบบการผลิตกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (โครงการคอฟฟีพลัส) เป็นโครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในระดับภูมิภาค ที่ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง จีไอแซด(GIZ) และบริษัท เนสเล่ ซึ่งดำเนินโครงการใน 3 ประเทศ คือ อินโนนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อย จำนวน 10,500 ราย ใน 3 ประเทศ แบ่งเป็น 7,000 รายในประเทศอินโดนีเซีย 1,500

โครงการคอฟฟี่พลัสประเทศไทยส่งเสริมผู้ปลูกกาแฟรายย่อยสู่การเป็นนักธุรกิจเกษตรมืออาชีพ ผ่านการอบรมออนไลน์

อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล กลุ่มเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทย ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องปรับตัวและหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อขับเคลื่อนการทำงานรวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขวิถีชีวิตใหม่ และการเว้นระยะห่างทางสังคม ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาระบบการผลิตกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ คอฟฟี่พลัส (Coffee+) จึงจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่หน่วยงานเกษตรในพื้นที่เข้าใจองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติของหลักสูตร เพื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้แนวทางการจัดการธุรกิจเกษตรอย่างต่อเนื่อง หลักสูตร “โรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร” (Farmer Business School: FBS)  คือ หนึ่งผลงานสำคัญของโครงการ ที่ได้รับการออกแบบเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะและศักยภาพการจัดการธุรกิจเชิงเกษตร เช่น กลไกราคาและตลาด การวางแผนการผลิต การคำนวณต้นทุนและกำไร การปลูกพืชผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงการปลูกฝังวินัยการจดบันทึก และการออมเงินอย่างถูกวิธีให้กับเกษตรกร เจ้าหน้าที่นักวิชาการระดับปฏิบัติการของกรมส่งเสริมการเกษตร

Scroll to Top