22 กันยายน 2566

การเกษตรแบบฟื้นฟู เพิ่มคุณภาพดิน สร้างรายได้ และ ส่งเสริมวิถีสวนมะพร้าวอย่างยั่งยืน

เรื่อง อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ/ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร

เกษตรกรสมาชิกโครงการรีแคพ ตัวแทนจากกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย รวมทั้งสิ้นราว 200 คน เข้าร่วมกิจกรรมปิดโครงการรีแคพที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ ณ เวลา โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น จังหวัดราชบุรี

โครงการการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์สำหรับมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน (รีแคพ) ดำเนินโครงการอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยความร่วมมือของบริษัท ฮาร์มเลส ฮาร์เวสท์ (ไทยแลนด์) จำกัด (Harmless Harvest Thailand) กองทุนดานอน อีโค่ ซิสเต็ม (Danone Ecosystem Fund) และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)  โครงการฯ ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการสวนมะพร้าวแบบดั้งเดิมไปสู่รูปแบบการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์ ที่ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ยังสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกรและชุมชนชาวสวนมะพร้าวในท้องถิ่น

ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการช่วงระหว่างปีพ.ศ.2563 ถึง พ.ศ.2566 โครงการมีการฝึกอบรมและการจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติทั้งหมด 14 ครั้งให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวและวิทยากรจาก ใน 4 จังหวัดได้แก่ นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นพื้นที่หลักของการปลูกมะพร้าวน้ำหอมของประเทศไทย ทำให้สมาชิกของโครงการมีความรู้ ทักษะและเทคนิคการฟื้นฟูสวนมะพร้าวน้ำหอมด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืน และเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรมะพร้าวจากการปลูกพืชแซม พืชคลุมดิน การผสมเกสรมะพร้าวจากผึ้งและการเลี้ยงชันโรง การควบคุมศัตรูพืชด้วยเกษตรอินทรีย์ และการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ มีเกษตรกรสมาชิกโครงการทั้งหมด 384 คนและ วิทยากรทั้งหมด 27 ท่านที่ผ่านการรับรองจากโครงการภายหลังการเข้าร่วมอบรมเป็นระยะเวลาเป็นอย่างน้อย 21 ชั่วโมง

หนึ่งในกิจกรรมที่เกษตรกรนิยมนำมาปรับใช้ภายในสวนมะพร้าวมากที่สุด ได้แก่

  • การเลี้ยงผึ้งและชันโรงซึ่งเพิ่มขึ้น 25%
  • การใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ซึ่งเพิ่มขึ้น 17%
  • การปลูกคลุมดินซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 15%

เป็นที่น่าสังเกตว่าปริมาณอินทรียวัตถุ ซึ่งเป็นดัชนีประเมินสุขภาพของดิน เพิ่มขึ้นถึง 1.15% ในระยะเวลา 28 เดือน ภายในสวนของเกษตรกรนำร่องหลังเข้าร่วมโครงการฯ

ทีมส่งเสริมการเกษตรจังหวัดราชบุรีนำเสนอวิธีการเลี้ยงผึ้งและชันโรงภายในบริเวณนิทรรศการของกิจกรรม

สำหรับกิจกรรมปิดโครงการฯ ที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ ณ เวลา โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น จังหวัดราชบุรี มีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยเกษตรกรสมาชิกโครงการรีแคพ ตัวแทนจากกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย

คุณพจมาน วงษ์สง่า ผู้อำนวยการโครงการ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZประจำประเทศไทย กล่าวว่า “สามปีที่ผ่านมามีเกษตรกรทั้งหมด 449 รายได้เข้าร่วมโครงการฯ โดยครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกถึง 5,781 ไร่ ใน 4 จังหวัดที่มีการเพาะปลูกมะพร้าว มีการจัดตั้งแปลงสาธิตจำนวน 8 แห่งในจังหวัดที่ดำเนินการ เพื่อให้ชาวสวนมะพร้าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเยี่ยมชมแนวทางการปฏิบัติที่ดีของโครงการรีแคพได้”

นอกจากนี้ทางโครงการฯ ได้พัฒนาสูตรปุ๋ยหมักที่ใช้เศษวัสดุเหลือใช้จากการปลูกมะพร้าว เช่น เปลือกและใบมะพร้าว ทั้งหมด 3 สูตร ซึ่งสมาชิกในโครงการฯ สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในสวนของตนเอง และมีเกษตรกรต้นแบบอีก 4 รายสามารถผลิตปุ๋ยหมักในเชิงการค้าได้

คุณจิราภา จอมไธสง ที่ปรึกษากรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า “การรับรองผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอาจเป็นเครื่องมือที่สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรมะพร้าวหันมาสร้างผลสะท้อนทีดีต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนทางการเกษตรของพวกเขาได้ โดยโครงการรีแคพช่วยให้เกษตรกรมะพร้าวสามารถปรับตัวและพร้อมรับมือกับความเสี่ยงทางสภาพอากาศที่เพิ่มขึ้น ที่มาพร้อมกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคที่หันมาส่งเสริมน้ำมะพร้าวหอมที่ได้มาจากห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

ทั้งนี้หลักสูตรของโครงการรีแคพ อุปกรณ์ทำปุ๋ยหมัก ตลอดจนเอกสารความรู้อื่น ๆ จะถูกส่งมอบให้กับหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม เพื่อนำไปขยายผลการดำเนินการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์สำหรับมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืนในระดับพื้นที่ และจะเป็นประโยชน์กับสำหรับเจ้าหน้าภาครัฐ ชุมชนและเกษตรกรสวนมะพร้าว ในระยะยาว 

คุณแมททิว ชัวมอง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและจัดซื้อจัดจ้างบริษัท ฮาร์มเลส ฮาร์เวสท์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวถึงความสำคัญของการดำเนินการเกษตรมะพร้าวอินทรีย์แบบปฏิรูปอย่างต่อเนื่องหลังจบโครงการรีแคพว่า “การฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์สำหรับมะพร้าวน้ำหอมอย่างจริงจังผ่านโครงการรีแคพเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของบริษัท ยังมีงานอีกมากมายที่เราสามารถทำให้สำเร็จได้ ทั้งเรื่องการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชแซม และทักษะทางธุรกิจเกษตร เพื่อให้เกษตรกรสวนมะพร้าวสามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างยั่งยืนและปลอดภัยและส่งผลดีกับทั้งครัวเรือนของเกษตรกรและต่อการดำรงชีวิตของชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

คุณทัศนีย์ สำราญ หนึ่งในเกษตรกรสมาชิกระยะขยายผลของโครงการรีแคพ จากจังหวัดราชบุรีกล่าวว่า เธอได้นำความรู้ที่ได้จากการเข้าอบรมในระยะขยายผลกับโครงการ มาประยุกต์ใช้กับการปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าวน้ำหอม ประกอบไปด้วยพืชผักตามฤดูกาลและสมุนไพรอื่นๆ เช่น ลูกยอ ผักชีฝรั่ง และโหระพา สามารถสร้างรายได้ใหกับตนเองในวัยเกษียณได้ตลอดทั้งปี และยังมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อผักปลอดภัยของตนจากในสวน  นอกจากนี้ตนเองและสมาชิกในครอบครัวยังอยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้มีคุณสมบัติเพื่อขึ้นทะเบียนรับรองตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์มะพร้าวน้ำหอมภายของตนเองในสองปี  “ดินอินทรีย์และปุ๋ยหมักทำให้เรามีสุขภาพดี ความเป็นอยู่ที่ดี และทำให้เกิดความยั่งยืนของทั้งผู้ผลิต ชุมชน และผู้บริโภค เราแค่ต้องอดทนและรู้จักรอคอยผลสำเร็จที่เราสร้างด้วยตัวเอง” คุณทัศนีย์ กล่าวเพิ่มเติม 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

แกลอรี่ภาพ

วิดีโอ

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN