04 ธันวาคม 2563

ภาคธุรกิจเสนอแนวทางผนึกกำลังยกระดับตลาดน้ำมันปาลม์ไทยสู่วิถียั่งยืน

เขียนโดย : Agriculture and Food Cluster Team

วงสัมมนาธุรกิจปาล์มชี้ชัด ภาครัฐ นักธุรกิจ และผู้บริโภค เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนน้ำมันปาล์มยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ด้วยการเรียกร้องบริษัทสินค้าโปรดของพวกเขา และช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงตลาดโลกผ่านการรับรองมาตรฐานสากลของ RSPO

ผู้แทนจากสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ผู้บริหาร GIZ ประเทศไทย และ องค์กรเจรจาระหว่างประเทศด้านปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) ให้เกียรติถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน (ภาพจากซ้ายไปขวา) ดร.แบนท์ คริสเตียนเซน ที่ปรึกษาทูตฝ่ายอาหารและการเกษตร สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจําประเทศไทย คุณปราการ วีรกุล ที่ปรึกษา สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.กนกวรรณ ศาศวัตเตชะผู้จัดการโครงการ SCPOPP คุณรัฎดา ลาภหนุน RSPO Technical Manager (Thailand) นายศาณินทร์ ตริยานนท์ นายกสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย และกรรมการบริษัท น้ำมันพืชปทุม จำกัด และดร.แมทเทียส บิกเคล ผู้อำนวยการกลุ่มการเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ
กรุงเทพฯ 3 ธันวาคม 2563 – ที่เวทีการสัมมนาเชิงธุรกิจเรื่อง เส้นทางสู่การยกระดับตลาดปาล์มน้ำมันยั่งยืนในประเทศไทย ที่โรงแรม ซึ่งจัดขึ้นโดย องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (Sustainable and Climate-Friendly Palm Oil Production and Procurement: SCPOPP) มีการอภิปรายในหัวข้อ “ถึงเวลา…ยกระดับน้ำมันปาล์มไทยสู่วิถียั่งยืน” (It’s time… Transforming sustainable palm oil in Thailand) โดยมีผู้แทนภาคธุรกิจและองค์กรระหว่างประเทศและเกษตรกรรายย่อยราว 100 รายเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ ผ่านแนวคิด “ความรับผิดชอบร่วมกัน” (Shared Responsibility)” เพื่อตอกย้ำความสำคัญของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภคในประเทศล้วนมีส่วนร่วมกันผลักดันและส่งเสริมการให้เกษตรกรผู้ปลูกน้ำมันปาล์มรายย่อยสามารถเข้าถึงมาตรฐานการรับรองระดับโลกเพื่อยกระดับน้ำมันปาล์มไทยสู่วิถียั่งยืน
ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชนและแรงงาน จึงเกิดกระแสเรียกร้องให้ภาคธุรกิจปรับระบบการผลิตและการใช้น้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน สำหรับประเทศไทย ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มส่วนใหญคือเกษตกรรายย่อย ซึ่งเป็นผู้ผลิตต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิตยังมีข้อจำกัดด้านโอกาสรวมทั้งการส่งเสริมจากภาครัฐและเอกชนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อปรับเปลี่ยนและยกระดับการผลิตน้ำมันปาล์มจากวิถีดั้งเดิมไปสู่มาตรฐาน RSPO
ดร.แมทเทียส บิกเคล ผู้อำนวยการกลุ่มการเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหารองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)
ดร.แมทเทียส บิกเคล ผู้อำนวยการกลุ่มการเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ของเยอรมัน (GIZ) กล่าวว่า องค์กรฯให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวและส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนของไทยเดินหน้าขับเคลื่อนการผลิตน้ำมันปาล์มด้วยวิถียั่งยืนผ่านโครงการ SCPOPP ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน มีการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรรายย่อยให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดน้ำปาล์มยั่งยืนของไทยสามารถเข้าถึงตลาดโลกได้
“การสนับสนุนแหล่งเงินทุนและการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายย่อยและชุมชนในพื้นที่ เพื่อยกระดับ การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยปรับปรุงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนให้สอดคล้องกับความต้องการอาหารโลก และเพื่อลดผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม” ดร. แมทเทียสกล่าว
การเสวนาในหัวข้อ “ความท้าทายและโอกาสในการเปลี่ยนแปลงน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในประเทศไทย”(Challenges and opportunities to transform sustainablepalm oil in Thailand)
โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (SCPOPP) ดำเนินงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยกว่า 3,000 รายทั่วประเทศผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ. 2561 – สิงหาคม พ.ศ. 2565 โครงการฯคาดว่าจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 9,600 ตันจากการปลูกปาล์มน้ำมัน ทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตได้ประมาณ 20% ภายใน 2565
ด้าน มิสซิสเบฟเวอร์ลี่ พอสท์มา ประธานกรรมการบริหารของ RSPO ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของเกษตรกรว่า การผนึกกำลังของเกษตรกรชาวสวนปาล์มรายย่อยเพื่อนำไปสู่วิถียั่งยืน จะเกิดผลดีต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาวของพวกเรา RSPO ทั้งฝ่ายเลขานุการและสมาชิก เพราะพวกเราตระหนักดีว่าเกษตรกรรายย่อยมีบทบาทสำคัญในการยกระดับตลาดปาล์มน้ำมัน และมองเห็นว่า นี่คือการแบ่งปันความรับผิดชอบที่ผู้เล่นทุกภาคส่วนในห่วงโซ่ธุรกิจปาล์มน้ำมันจะต้องให้คำมั่นสนับสนุน อย่างไรก็ตาม การผลิตปาล์มน้ำมันของประเทศไทย หลักๆ ผลิตโดยเกษตรกรชาวสวนปาล์มรายย่อย ที่ยังขาดโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนสนับสนุน ขาดทักษะและองค์ความรู้ด้านการจัดการสวนอย่างยั่งยืน และการรับรองมาตรฐานสากลที่จะช่วยให้สามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้
“ปีที่แล้ว เรานำมาตรฐานเกษตรกรรายย่อยอิสระของ RSPO ฉบับใหม่มาใช้ โดยมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เกษตรกรรายย่อยได้รับการรับรองผ่านกลไกที่เป็นขั้นเป็นตอน และสอดคล้องกับหัวใจสำคัญของความยั่งยืน แม้ว่าปี 2563 จะเป็นปีที่มีความท้าทายสำหรับทุกคน ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด19 ทั่วโลก แต่พวกเรายังคงเห็นความก้าวหน้าที่ดีในส่วนการรับรองมาตรฐานเกษตรกรรายย่อยอิสระ และหวังว่าจะเห็นเกษตรกรรายย่อยในประเทศไทย ได้รับการรับรองมากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้” ประธานกรรมการบริหารของ RSPO กล่าวทิ้งท้าย
ในปัจจุบันน น้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรองจาก RSPO คิดเป็นร้อยละ 19 หรือประมาณ 17.11 ล้านตันของผลผลิตน้ำมันปาล์มทั่วโลก ซึ่งในส่วนของประเทศไทย มีน้ำมันปาล์มยั่งยืน ที่ได้รับการรับรองจาก RSPO เพียงแค่ 2.8% จากผลผลิตน้ำมันปาล์มรวมทั้งประเทศเท่านั้น
นายศาณินทร์ ตริยานนท์ นายกสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย และกรรมการบริษัท น้ำมันพืชปทุม จำกัด กล่าวว่าผู้บริโภคมีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นผู้ผลิตให้ดำเนินการตามมาตรฐาน RSPO จากกรณีศึกษาของประเทศในฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกาพบว่า มีผู้บริโภคจำนวนมากปฏิเสธการสนับสนุนหรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มที่มีแหล่งมาจากการปลูกรูปแบบเดิม ๆ ที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานความยั่งยืนซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ ประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายสำคัญของโลกอย่างอินโดนิเซียและมาเลเซียจึงเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีการในการปลูกปาล์มน้ำมันตามแนวปฏิบัติด้วยวิถีที่ยั่งยืนและเป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างการยอมรับต่อผู้บริโภค
แม้ว่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยจะไม่ได้รับแรงกดดันโดยตรงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวทีโลกอย่างเช่นประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามนายกสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทยยอมรับว่าภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มในมุมมองของผู้บริโภคในประเทศยังค่อนข้างติดลบ โดยเฉพาะประเด็นผลกระทบต่อสุขภาพครั้งรัฐบาลประกาศยกเลิกการใช้ไขมันทรานส์ (Trans fat) เมื่อมกราคม 2562 เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเช่นเบาหวาน ความดัน หัวใจ เกิดความเข้าใจผิดว่าให้ยกเลิกการบริโภค
น้ำมันปาล์มเป็นวงกว้าง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วน้ำมันที่ผลิตจากพืชทั้งหมด รวมทั้งน้ำมันปาล์มปราศจากไขมันทรานส์ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเด่นคือไม่มีกลิ่นหืนและมีความเสถียรต่อความร้อนสูง จึงเหมาะที่จะนำไปประกอบอาหาร บทเรียนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคควรได้รับข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มในทุก ๆ ด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกซื้อ
น้ำมันปาล์มเป็นวงกว้าง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วน้ำมันที่ผลิตจากพืชทั้งหมด รวมทั้งน้ำมันปาล์มปราศจากไขมันทรานส์ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเด่นคือไม่มีกลิ่นหืนและมีความเสถียรต่อความร้อนสูง จึงเหมาะที่จะนำไปประกอบอาหาร บทเรียนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคควรได้รับข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มในทุก ๆ ด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกซื้อ
“นอกจากความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม ผู้ผลิต กับ ภาครัฐเพื่อบูรณานโยบายการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนแล้ว การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติคือก้าวสำคัญที่ภาคอุตสาหกรรมปาล์มไทยสามารถทำได้ทันทีเพื่อส่งเสริมเกษตกรรายย่อยและสร้างมาตรฐานสากลด้านการผลิตปาล์มยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย” นายศาณินทร์กล่าว
คุณสลิลลา สีหพันธุ์ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัทเทสโก้ โลตัส
คุณปราการ วีรกุล ที่ปรึกษา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดร.แบนท์ คริสเตียนเซน ที่ปรึกษาทูตฝ่ายอาหารและการเกษตร สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

  • 67
  • 9,994
  • 1,584,265

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN