Category: ปาล์มน้ำมันยั่งยืน

“ฐานข้อมูลในการจัดการสวน” ช่วยเกษตรกรพัฒนาแผนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

เรื่องและภาพ:ธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน RSPO – พังงา นำเสนอการแสดงผลข้อมูลด้วย PowerBI การพัฒนาแผนธุรกิจถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเกษตรกรในการเป็นผู้ประกอบการและเพื่อที่จะหลุดพ้นจากกับดักความยากจน ฐานข้อมูลในการจัดการสวนถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาแผนธุรกิจดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและส่งผลให้กลุ่มประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ความพร้อมและความถูกต้องของข้อมูลในการจัดการสวนยังนับว่าเป็นความท้าทายสำคัญในภาคการเกษตรมาหลายสิบปี โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน(SPOPP) ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) (Global Green Chemical PCL: GGC) และให้ความสำคัญกับข้อมูลการทำสวนของเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้นโครงการฯ จึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับสมาชิกโครงการฯ รวม 34 คนจากจังหวัดพังงา ชุมพร กระบี่ และตรัง ในการใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างวันที่

สหภาพยุโรปกับกฎระเบียบ EUDR:มาตรการกีดกันทางการค้าหรือโอกาสทางการค้าของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทย

เรื่อง: กนกวรรณ ศาศวัตเตชะ ภาพ:โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (SPOPP) สหภาพยุโรป (European Union: EU) ได้กำหนดกฎระเบียบใหม่ที่เข้มงวดกว่าเดิม เพื่อพยายามลดปัญหาการทำลายพื้นที่ป่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ตลอดจนปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานจากภาคการเกษตรทั่วโลก ซึ่งมีชื่อว่า EU Deforestation Regulation หรือ EUDR คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2567 ครอบคลุม 7 กลุ่มสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อการทำลายป่ามากที่สุด ได้แก่ โกโก้ กาแฟ ถั่วเหลือง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โค และเนื้อไม้ ตลอดจนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าดังกล่าว เช่น

เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย พร้อมคณะเยือนโครงการ SPOPP กระบี่

เรื่องและภาพ: จันทิมา กูลกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย พร้อมคณะได้ไปเยือนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด และพบปะเกษตรกรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสานฝันเพหลาพัฒนาเศรษฐกิจ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Sustainable Palm Oil Production and Procurement หรือ SPOPP) การเดินทางเยือนโครงการ SPOPP ครั้งนี้มีผู้บริหารบริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด คณะผู้บริหารบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม นายเฉลิมพล จิระธำรง

5 มุมมองเกษตรกรหญิงสะท้อนความสำเร็จ ในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน

เรื่อง: โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันบทบาทผู้หญิงเป็นที่พูดถึงเพิ่มมากขึ้น ในโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ โครงการ SCPOPP ก็เป็นหนึ่งในโครงการฯ ที่มีเกษตรกรผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอาสาเข้ามาเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม การเข้ามามีบทบาทเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่ม หรือแม้แต่การเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดเพื่อพัฒนากิจกรรมของโครงการฯ ให้ดีขึ้น จากการลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมและพูดคุยกับกลุ่มเกษตรกรหลายๆกลุ่ม ทางโครงการฯ มักจะเห็นเกษตรกรผู้หญิงเข้ามาร่วมกิจกรรมถึงร้อยละ 40 ซี่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างมากสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และเกษตรกรก็มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการจุดประกายให้กับทางโครงการฯว่า อะไรเป็นแนวคิดหลักที่เกษตรกรหญิงอย่างพวกเขาได้เข้ามามีบทบาทในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน กล้าหาญ ความไม่ยอมแพ้ในแบบชาวสวนภาคใต้ที่ต้องพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วัน คุณเรณู ภู่สุวรรณ เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับการสืบทอดการจัดการสวนปาล์มจากรุ่นสู่รุ่น และเกษตรกรส่วนใหญ่ก็มีอายุค่อนข้างมาก มีแนวทางการปฏิบัติและดูแลสวนกันตามที่เคยทำกันมา แต่ในปัจจุบันกระแสการผลิตปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืนได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรจำเป็นต้องปรับตัวให้สามารถเข้าสู่ระบบและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้. “เราพอทราบว่าการทำสวนปาล์มแบบที่เคยทำมาก็พอเลี้ยงชีพอยู่ได้ แม้การทำแบบยั่งยืนมันต้องปรับเปลี่ยนเยอะโดยเฉพาะอย่างยิ่งความใส่ใจที่เพิ่มมากขึ้นและทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องมีกลุ่มเกษตรกรรายย่อยอยู่ด้วยกัน

GGC ร่วมกับ GIZ และพันธมิตร บันทึกข้อตกลงยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน

ภาพและเรื่อง: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร กระบี่ – บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย และพันธมิตร บันทึกข้อตกลงยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน ณ เดอะ บียอนด์ รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา GGC ร่วมกับ GIZ ประเทศไทย ดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Sustainable and Climate-friendly

เกษตรฯ จับมือภาคเอกชน เดินหน้าขยายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยสู่ตลาดโลก

เรื่องและภาพ: โครงการการผลิตปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยกลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (SCPOPP) ร่วมจัดงานสัมมนาเชิงธุรกิจ  เรื่อง “เส้นทางสู่การยกระดับตลาดปาล์มน้ำมันยั่งยืนในประเทศไทย ครั้งที่ 2” ที่โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ  เพื่อนำเสนอทิศทางของตลาดน้ำมันปาล์มยั่งยืนและโอกาสของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ หนทางสู่การยกระดับตลาดปาล์มน้ำมันยั่งยืนในประเทศไทย ผ่านแนวคิด “ความรับผิดชอบร่วมกัน” (Shared Responsibility) ตลอดจนรวบรวมความเห็นต่อการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรปาล์มน้ำมันยั่งยืนแห่งประเทศไทย(Thailand Sustainable Palm Oil Alliance) ในงานนี้มีผู้ขับเคลื่อนระดับนโยบายและตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม โรงสกัด โรงกลั่น ผู้ผลิตแปรรูป ผู้ค้าส่งออกน้ำมันปาล์ม

Scroll to Top