21 พฤษภาคม 2564

หลักสูตร TOPSA ออนไลน์ช่วยขยายองค์ความรู้การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน

เรื่องและภาพ: จันทิมา กูลกิจ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการควบคุมต่าง ๆ  ส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวและหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเดินหน้าการทำงานรวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขวิถีชีวิตใหม่ และการเว้นระยะห่างทางสังคม 

ความก้าวหน้าเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้การเรียนออนไลน์ การทำงานจากที่บ้าน และการจัดกิจกรรมสัมมนาต่าง ๆ เป็นไปได้อย่าง ช่วยลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (Sustainable and Climate-Friendly Palm Oil Production and Procurement: SCPOPP) จึงได้จัดการฝึกอบรมออนไลน์ (Online Training) เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมได้เรียนรู้บทเรียนและแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนและเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีให้กับเกษตรกรรายย่อย ตัวแทนจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

การจัดการอบรมวิทยากรออนไลน์ครั้งล่าสุดผ่านโปรแกรมไมโครซอฟท์ ทีมส์ (Microsoft Teams) ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 ท่าน ส่วนใหญ่เป็นวิทยากรในพื้นที่จังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานีและชุมพร   

การฝึกอบรมออนไลน์ให้กับเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร อำเภอท่าฉาง สุราษฎร์ธานี

การปรับเนื้อหารูปแบบ และระยะเวลาให้เหมาะสมกับการโต้ตอบและมีส่วนร่วมในกิจกรรมออนไลน์นับเป็นอีกความท้าทายของวิทยากรและผู้ฝึกอบรมเนื่องจาก หลักสูตรพัฒนาเกษตรกรรายย่อยของไทยในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (Thailand Oil Palm Smallholder Academy: TOPSA) นี้ ได้รับการออกแบบโดยเฉพาะสำหรับการเรียนการสอนในชั้นเรียนเท่านั้น ดังนั้นทีมงานจึงได้หยิบกประเด็น ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืน โดยใช้กรณีศึกษาและการประเมินผลกระทบทางสังคมหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องสวนปาล์มน้ำมันมาเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม

คุณอำไพ เกตุสถิตย์ นักวิชาการอิสระ

ตลอดระยะเวลาหนึ่งวัน  นอกเหนือจากวิทยากรผู้เข้าร่วมอบรมออนไลน์จะได้เรียนรู้วิธีการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืนในเชิงลึก  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคนิคที่จะช่วยให้กลุ่มวิทยากรและเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายย่อยสามารถนำไปใช้กับสวนปาล์มของตนเอง ผ่านการใช้ระบบติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวทางการผลิตปาล์น้ำมันที่ยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนต่อไป

เกษตรกรสวนปาล์มรวมตัวกันที่ศูนย์เรียนรู้บ้านสวนสุวรรณ หมู่ที่ 2 ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพรเพื่อเข้าร่วมอบรมออนไลน์

เสียงจากผู้เข้าร่วมอบรม

สุกัญญา ศรีสุบัติ
การปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตใหม่ท่ามกลางปัจจัยที่มีความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ คุณสุกัญญา ศรีสุบัติ ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ บริษัท เอส.พี.โอ.อะโกรอินดัสตรี้ส์ จำกัด อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวถึงความประทับใจในการเข้าร่วมการฝึกอบรมออนไลน์และประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับและยังได้เห็นถึงความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจได้ว่าจะสามารถนำไปใช้ได้จริงในทางปฎิบัติ
ระเบียบรัตน์ มณีมัย
“ฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับมาตรฐานปาล์มยั่งยืน การบริหารจัดการกลุ่ม ระบบควบคุมภายใน และการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมัน ที่นอกจากจะที่เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์แล้ว ฉันยังสามารถนำไปปรับใช้กับการผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างยั่งยืน และสามารถเผยแพร่ให้กับกลุ่มเกษตรในพื้นที่ได้อีกด้วย” คุณระเบียบรัตน์ มณีมัย ประธานกลุ่มเกษตรกร ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
แสงเจริญ วิศิษฏ์ไพบูลย์
คุณแสงเจริญ วิศิษฏ์ไพบูลย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฎิบัติการ สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า “การฝึกอบรมออนไลน์ไม่เพียงแต่ให้ความรู้กับผู้ที่ได้รับการอบรมในเรื่องมาตรฐานปาล์มยั่งยืน การบริหารจัดการกลุ่ม ระบบควบคุมภายใน และการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันเท่านั้น แต่ยังช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมไปถึงแนวทางที่พวกเขาจะนำไปปรับใช้ในการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนนั้น สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้”

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN