11 พฤศจิกายน 2563

ประเทศไทยเปิดเวทีหารือแนวทางการดำเนินงานในประเทศขับเคลื่อนมาตรฐานข้าวที่ยั่งยืน

คณะทำงานการขับเคลื่อนมาตรฐานข้าวที่ยั่งยืนโดยกรมการข้าวและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยจัดการประชุมเพื่อสรุปแนวทางการดำเนินงานและถอดบทเรียนเกี่ยวกับการผลิตข้าวที่ยั่งยืนเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่กรมการข้าว 

คณะทำงานระดับชาติด้านการผลิตข้าวที่ยั่งยืนในประเทศไทยประกอบไปด้วย สมาคมการตลาดเกษตรและอาหารแห่งภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ไบเออร์ คอนโทรล ยูเนี่ยน คอเทวา อะกริไซแอนส์ ฟู๊ดเทค โซลูชั่น
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน โกลบอล จี เอ พี เอลล์บา บางกอก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริษัท ข้าว ซีพี จำกัด สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บริษัท โอแลม อินเตอร์เนชั่นแนล กรมการข้าว และบริษัท ซินเจนทาประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ กรมการข้าว
การประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองโดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานวิชาการ ภาครัฐและเอกชนที่ทำงานด้านการผลิตข้าวที่ยั่งยืนกว่า20 ท่านร่วมกันหารือเพื่อวางกรอบการทำงานและการดำเนินกิจกรรมในปี 2564 โดยได้ผลสรุปทั้งสิ้น 3 ด้าน ดังต่อไปนี้
  1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สมาคมผู้ส่งออกข้าว โรงสีข้าว และกลุ่มเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ
  2. พัฒนาหลักสูตรและสื่อการอบรมตามมาตราฐานการผลิตข้าวที่ยั่งยืนฉบับภาษาไทย เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวที่ยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  3. พัฒนารูปแบบการสื่อสาร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตข้าวที่ยั่งยืนให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป
ดร.อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ที่ปรึกษาอธิบดีกรมการข้าว ในฐานะประธานการประชุมกล่าวว่า “ประเทศไทยมีความตั้งใจนำแนวทางการผลิตข้าวที่ยั่งยืนไปปฏิบัติใช้อย่างจริงจังด้วยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนผ่านโครงการผลิตข้าวที่ยั่งยืนถึง 6 โครงการ การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการวางกรอบการดำเนินงานสำคัญให้ประเทศไทยก้าวขึ้นไปสู่การเป็นผู้นำโลกด้านการผลิตข้าวที่ยั่งยืนได้ในอนาคต” คณะทำงานฯ มีแผนดำเนินกิจกรรมดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2564 เพื่อสนันสนุนนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศมีความตระหนักรู้และสามารถนำแนวทางการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวยั่งยืนไปปฏิบัติใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างน้อยหนึ่งแสนราย อีกทั้งเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบัน นอกจากนี้กรอบการดำเนินงานยังมีเป้าสนับสนุนให้เกษตรกรอย่างหนึ่งหมื่นรายให้ได้รับการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในระยะยาว

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN