ระยะเวลาดำเนินโครงการ: ตุลาคม 2564 – กันยายน 2567

โครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน  (RePSC)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังคุกคามการดำรงชีวิตของเกษตรกรไทยในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลกระทบทางเศรษฐกิจของภาคเกษตรกรรมมีมูลค่าสูงถึง 13.7 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรที่สำคัญอย่างข้าวและข้าวโพด มีแนวโน้มลดลง กว่าร้อยละ 3.6 ภายในปี 2593 เกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาความท้าทายจากสภาพอากาศที่รุนแรง และมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่เกษตรกรรม ธุรกิจ และชุมชนท้องถิ่น

ในศตวรรษที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอุณหภูมิพื้นผิวดินเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 องศา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุหลักของปัญหาภัยแล้งในประเทศต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันนี้ ได้รับผลกระทบเชิงลบต่อภาคเกษตรกรรมและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นยังส่งผลกระทบ ต่อการเพาะปลูกมันฝรั่ง โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงรายทางตอนเหนือของประเทศไทยมันฝรั่ง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับการดำเนินงานด้านเกษตรกรรมของเป๊ปซี่โค (PepsiCo) ประเทศไทย ด้วยอัตรา

การจ้างงานและสนับสนุนวิถีชีวิตของเกษตรกรกว่า 3,000 ครัวเรือนทั่วประเทศจากการศึกษาพบว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้ผลผลิตมันฝรั่งลดน้อยลง ความเสี่ยงในการเกิดโรคพืชและแมลงศัตรูเพิ่มขึ้น ทั้งยังทำให้ต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้น ตลอดจนการดำรงชีวิตของเกษตรกรจะตกอยู่ในความเสี่ยง หากปราศจากความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนี้ การปลูกพืชเชิงเดี่ยวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป การส่งเสริมการปลูกพืชหมุนเวียนสำหรับข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพด จะช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกร ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก และบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย แนวปฏิบัติทางการเกษตรแบบฟื้นฟูได้ถูกนำมาปรับใช้ผ่านระบบการทำฟาร์มแบบหมุนเวียนอย่างยั่งยืนที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

พื้นที่ดำเนินโครงการ

จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการฯ ได้ใช้ประโยชน์จากการมุ่งเน้นให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลาง การดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ที่ปรึกษาด้านการเกษตร เกษตรกรผู้ปลูกพืชผลหมุนเวียน และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหาวิธีการสำหรับแก้ไขปัญหาตลอดทั้งปี พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถใน

การปรับตัวและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็เพิ่มการเชื่อมโยงตลาดให้แก่ชุมชนตามแนวทางการดังต่อไปนี้

  • พืชผลทางการเกษตร: นำเสนอแนวทางการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพของการทำเกษตรกรรม รวมทั้งลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดจากเพาะปลูกมันฝรั่ง เช่น การชลประทานแบบน้ำหยด การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และการเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ที่สูงขึ้น

  • การทำเกษตรแบบครอบคลุม: สร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาแนวทางการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สำหรับข้าวและข้าวโพด รวมถึงให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในการดูแลพืชผลทางการเกษตรและมันฝรั่งที่ปลูกนอกฤดูกาล ส่งเสริมการนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดมาใช้ในระดับฟาร์ม เช่น ปุ๋ยหมักจากชีวมวลและการจัดการปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ชุมชนเป็นศูนย์กลาง: จัดตั้งแปลงสาธิตโดยมีผู้นำเกษตรกรร่วมกันดูแลพื้นที่เพาะปลูกพืชหมุนเวียนสำหรับมันฝรั่ง ข้าว และข้าวโพด ให้การฝึกอบรมภาคสนาม ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลและบริการที่เกี่ยวข้อง

  • การเกษตรแบบฟื้นฟูและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: เผยแพร่ความรู้ ให้การฝึกอบรม และสาธิตวิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืน อันมีทั้งผลกระทบเชิงบวกต่อสุขภาพของดินและความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรม ส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน การทำนาเปียกสลับแห้ง การชลประทานแบบน้ำหยด การทำปุ๋ยหมัก การจัดการตอซังและฟางข้าว/li>

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • เกษตรกรจำนวน 2,100 ราย จาก 3,000 ราย (เป็นเกษตรกรหญิงอย่างน้อยร้อยละ 25) มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15 ผ่านการนำแนวปฏิบัติเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาใช้

  • เกษตรกรมีความพร้อมในการนำแนวปฏิบัติทาง การเกษตรแบบฟื้นฟูมาใช้บำรุงสุขภาพดินให้ดีขึ้น

  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการลดลงร้อยละ 20

  • แนวทางปฏิบัติและเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพถูกนำมาใช้ อย่างน้อยร้อยละ 70 ของพื้นที่เกษตรกรรมที่เข้าร่วมโครงการ

หน่วยงานร่วมดำเนินการ

  • บริษัท เป๊ปซี่โค เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด & บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด (PepsiCo)

ติดต่อ
German Müller

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top