16 มีนาคม 2563

อาเซียนเดินหน้าดันการขนส่งสินค้าเกษตรให้เร็วยิ่งขึ้น

เขียนโดย: นาตาเชีย อังศกุลชัย ที่ปรึกษา โครงการอำนวยความสะดวกด้านการค้าสินค้าเกษตรในภูมิภาคอาเซียน

ประเทศกัมพูชา ไทย และเวียดนาม เตรียมจัดทำแผนแนวทางพัฒนาศักยภาพด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชเพื่อส่งเสริมการขนส่งผักและผลไม้ให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นระหว่างสามประเทศและประเทศสมาชิกอาเซียนที่เหลือในอนาคต

โดยแผนดังกล่าวต่อยอดจากความสำเร็จของโครงการอำนวยความสะดวกด้านการค้าสินค้าเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Facilitating Trade for Agricultural Goods in ASEAN: FTAG) ซึ่งได้สิ้นสุดลงไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

ผู้เข้าร่วมการประชุมจากประเทศกัมพูชา ไทย เวียดนาม สปป. ลาว และเจ้าหน้าที่จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยถ่ายรูปร่วมกัน (เครดิตรูปภาพ: GIZ ประเทศไทย)
ผู้เข้าร่วมการประชุมจากประเทศกัมพูชา ไทย เวียดนาม สปป. ลาว และเจ้าหน้าที่จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยถ่ายรูปร่วมกัน (เครดิตรูปภาพ: GIZ ประเทศไทย)

ผมหวังว่าโครงการจะเป็นโมเดลที่ดีให้กับหลายประเทศในอาเซียน และหวังว่าสิ่งที่ได้จากโครงการจะสามารถนำไปต่อยอดสำหรับโครงการอื่น ๆ ได้เช่นกัน นั้นคือสิ่งที่ผมอยากเห็น นายวิชา ธิติประเสริฐ ที่ปรึกษาสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร (มกอช.) และผู้แทนฝ่ายไทยในคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ FTAG กล่าว

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ FTAG จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2562 ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีผู้แทนทั้งหมด 25 คนจากหน่วยงานภาครัฐของสามประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย และเวียดนาม รวมถึงตัวแทนจาก สปป.ลาว และเจ้าหน้าที่จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยด้วยที่ได้มาแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานของโครงการและแผนพัฒนาศักยภาพด้านสุขอนามัยพืช ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตร เพื่อให้สินค้าปลอดศัตรูพืชและโรคพืชที่สำคัญที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการค้า

โครงการและแผนพัฒนาศักยภาพด้านสุขอนามัยพืช ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตร เพื่อให้สินค้าปลอดศัตรูพืชและโรคพืชที่สำคัญที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการค้า

นายวิชากล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedures: SOPs) ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ด่านตรวจพืชการตรวจสอบสินค้าเกษตรและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับสินค้าส่งออกจะเป็นกิจกรรมหลักที่แต่ละประเทศตั้งใจจะนำไปพัฒนาต่อหลังจบโครงการ

กล้วยเป็นหนึ่งในผักและผลไม้ที่ถูกคัดเลือกเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
กล้วยเป็นหนึ่งในผักและผลไม้ที่ถูกคัดเลือกเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช

คู่มือการปฏิบัติงานนี้จะใช้เป็นแนวทางให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอน เพื่อให้การปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการทั่วประเทศมีความสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ

โดยที่ประชุมได้มีแนวทางอยากให้ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้ากักกันพืชในอนาคต ประเทศไทยและเวียดนามมีแผนนำคู่มือการปฏิบัติงานมาใช้งานจริงในปี พ.ศ. 2563 ส่วนประเทศกัมพูชาจะเริ่มพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานต่อหลังโครงการจบ

ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืช ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จังหวัดจันทบุรี (เครดิตรูปภาพ: GIZ Thailand)
ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืช ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จังหวัดจันทบุรี (เครดิตรูปภาพ: GIZ Thailand)

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN