ระยะเวลาการดำเนินโครงการ: มกราคม 2566 - ธันวาคม 2570
โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(กลุ่มงานพลังงานชีวมวล)
ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% จากกรณีปกติ (Business As Usual: BAU) ภายในปี พ.ศ. 2573 ผ่านการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (2nd Update Nationally Determined Contribution) ซึ่งการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนถือเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก การหารือเกี่ยวกับอนาคตของระบบพลังงานของประเทศไทยเกี่ยวกับศักยภาพของพลังงาน ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ชาติ และบทบาทที่เป็นไปได้ในระบบพลังงานชี้ว่าแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์จากชีวมวลควรได้รับการศึกษาและส่งเสริม
โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai-German Cooperation on Energy, Mobility, and Climate: TGC EMC) เป็นโครงการที่จะช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่ยั่งยืนของไทย รวมถึงสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับปณิธานด้านภูมิอากาศ โดยโครงการประกอบด้วย 5 กลุ่มงาน (Component) ได้แก่
- กลุ่มงานพลังงานหมุนเวียน
- กลุ่มงานขนส่ง
- กลุ่มงานลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรม
- กลุ่มงานพลังงานชีวมวล และ
- กลุ่มงานกองทุน Thai Climate Initiative (ThaiCI)
ปัจจุบันไฟฟ้าส่วนใหญ่ของประเทศผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนยังต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น ในขณะที่ยังมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ และเศษวัสดุเหล่านั้นมีศักยภาพสูงที่จะใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า แนวทางปฏิบัติที่แพร่หลายในหมู่เกษตรกรในประเทศไทยคือการเผาในที่โล่งเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกครั้งต่อไปและเร่งกระบวนการเก็บเกี่ยว การปฏิบัติเช่นนี้ไม่เพียงแต่ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดินเแต่ยังทำให้มลพิษทางอากาศแย่ลงซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวมอีกด้วย
โครงการ TGC EMC กลุ่มงานพลังงานชีวมวล จะสนับสนุนการประเมินศักยภาพของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเป็นทางเลือกในการนำไปผลิตพลังงานชีวมวล โดยโครงการจะดำเนินงานสอดคล้องกับนโยบายระดับชาติในการจัดการกับปัญหาการเผาในที่โล่งและเพิ่มแหล่งรายได้ของเกษตรกรไทย
วัตถุประสงค์
โครงการ TGC EMC กลุ่มงานพลังงานชีวมวลมุ่งสนับสนุนการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว และใบอ้อย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษจากการเผาทางการเกษตร รวมถึงกระจายแหล่งรายได้ของเกษตรกรไทย
ประเทศ
แนวทางการดำเนินงาน
- ผลผลิตที่ 1.1: การวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานพลังงานชีวมวล
- ผลผลิตที่ 1.2: พัฒนาความรู้เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานชีวมวล
- ผลผลิตที่ 2.1: การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ผลผลิตที่ 3.1: จัดตั้งเครือข่ายการรวบรวมเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- ผลผลิตที่ 3.2: มาตรการที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรเพื่อลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในประเทศไทย
- พัฒนานโยบายและกลยุทธ์อันเกี่ยวข้องกับพลังงานชีวมวล
- มลพิษทางอากาศจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรลดลง
- มีการกระจายแหล่งรายได้ของเกษตรกรรายย่อย
- นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เอื้อต่อการผลิตพลังงานชีวมวลจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน
สนับสนุนงบประมาณโดย
หน่วยงานร่วมดำเนินงาน
หน่วยงานความร่วมมือภาครัฐ
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย