29 ธันวาคม 2565

ความร่วมมือและนวัตกรรมสู่การเกษตรทยั่งยืนในอาเซียน

เขียนโดย นาตาเชีย อังศกุลชัย และไอดีลา ฟรีตา โครงการ ASEAN AgriTrade รูปภายโดย: GIZ/Proramatephoto

ผู้เข้าร่วมงานจากประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม และ GIZ ณ งานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมเครือข่ายของ Agrinnovation Fund in ASEAN วันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2565

13 – 14 ธันวาคม 2565 ณ กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมประชุม 70 ท่าน จากภาครัฐและเอกชนของประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา และเวียดนาม ร่วมงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่าย ครั้งที่ 3 ของกองทุน เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในภาคการเกษตร หรือ Agrinnovation Fund in ASEAN (AIF)

ปัจจุบันกองทุน AIF ได้สนับสนุน 27 โครงการความร่วมมือกับภาคเอกชนในประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา และเวียดนาม ร่วมกับเกษตรรายย่อยกว่า 2,300 ราย เพื่อส่งเสริมการผลิดทางการเกษตร เพิ่มความปลอดภัย คุณภาพ และความยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตร

ในช่วงพิธีเปิด ผู้แทนจากคณะกรรมการบริหารกองทุน ทั้งจากภาครัฐและเอกชนจากประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา และเวียดนาม ได้กล่าวขอบคุณและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงาน AIF นี้

โดยในวันแรกของงานหน่วยงานที่ร่วมดำเนินโครงการภายใต้กองทุน AIF ได้มีการจัดบูธและนำเสนอความสำเร็จของโครงการที่ผ่านมา โดยแต่ละประเทศได้นำผลิตผลและสินค้าต่างๆ เช่น แตงโม เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กล้วย และดอกอัญชันอบแห้ง จากพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงสินค้าอาหารแปรรูปที่ทำจากเห็ด พริก และขิง มาแสดง

รูปภาพบรรยากาศภายในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมเครือข่ายของ Agrinnovation Fund in ASEAN วันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2565

จาก  27  โครงการภายใต้ AIF นั้น มีโครงการที่กัมพูชาจำนวนทั้งหมด 11 โครงการ ที่สปป.ลาวจำนวน 6 โครงการ ที่เมียนมาจำนวน 6 โครงการ และที่เวียดนามอีก 4 โครงการ โดยมีโครงการที่ดำเนินการสำเร็จเรียบร้อยแล้วที่กัมพูชาจำนวน 4 โครงการ และ 2 โครงการในเมียนมา

วันที่สองของงานผู้เข้าร่วมประชุมได้เริ่มทำงานเป็นกลุ่มตามประเทศเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรคที่เผชิญด้านความร่วมมือและนวัตกรรมในภาคการเกษตรของแต่ละประเทศ โดยแต่ละกลุ่มมีการเวียนดูงานกลุ่มของแต่ละประเทศเพื่อให้คำแนะนำในการแก้ไขอุปสรรคที่เผชิญ

“กิจกรรมกลุ่มนี้ทำให้ฉันได้ตระหนักว่าพวกเราต่างเผชิญอุปสรรคที่คล้ายคลึงกัน โดยคำแนะนำที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมในแต่ละประเทศทำให้ฉันได้เห็นมุมมองใหม่ๆ” ผู้เข้าร่วมท่านหนึ่งได้แสดงความคิดเห็น ในช่วงสรุปกิจกรรมผู้เข้าร่วมงานได้เลือกคำแนะนำที่จะนำไปปฏิบัติใช้ในประเทศของตน

รูปภาพบรรยากาศภายในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมเครือข่ายของ Agrinnovation Fund in ASEAN วันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2565

ในช่วงสุดท้ายของงาน ได้จัดให้มีวิทยากรรับเชิญเข้าร่วมและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับกรอบนโยบายในระดับอาเซียน รวมถึงงานและบทเรียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและนวัตกรรมในห่วงโซ่คุณค่าในภาคการเกษตร โดยการหารือได้มีการระบุความสำคัญของการต่อยอดงาน การสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่มีการผลิตอย่างยั่งยืนเพื่อเพิ่มอุปสงค์ และการเข้าถึงกองทุนเพื่อส่งเสริมงานด้านความยั่งยืนและนวัตกรรม

รูปภาพบรรยากาศภายในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมเครือข่ายของ Agrinnovation Fund in ASEAN วันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2565

ภายในงานได้มีการแลกเปลี่ยนงานริเริ่มต่างๆ อาทิ เว็บไซด์ ASEAN Access ที่เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับตลาดให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอาเซียน บทเรียนและประสบการณ์จากการดำเนินโครงการเพื่อฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้ โดย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ประเทศไทย รวมถึงงานโดยสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง(Mekong Institute) และโครงการเกษตรและอาหารที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

กองทุน Agrinnovation Fund in ASEAN (AIF) เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรในอาเซียน งบประมาณสนับสนุนโดยกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ)

รูปภาพบรรยากาศภายในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมเครือข่ายของ Agrinnovation Fund in ASEAN วันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2565

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

  • 1,289
  • 40,743
  • 1,566,176

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN
Scroll to Top