ระยะเวลาดำเนินโครงการ : 1 มกราคม 2566 – 31 ะันวาคม 2568

โครงการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของผู้ผลิตกาแฟรายย่อย ด้วยระบบการผลิตแบบเกษตรกรรมฟื้นฟู

(Coffee++)

แม้ความต้องการกาแฟโรบัสต้าจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ผลผลิตกาแฟในประเทศหลักๆ ที่ปลูก เช่น โกตดิวัวร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ยังคงต่ำกว่าศักยภาพและได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นจากการปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิธีการผลิตและการเพาะปลูกแทบไม่มีการพัฒนาให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแนวทางใหม่ๆ เช่น เกษตรกรรมฟื้นฟูและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องมักไม่ถูกนำมาใช้ นอกจากนี้ ผู้ผลิตรายย่อยส่วนใหญ่ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากจน และบ่อยครั้งที่ผู้ผลิตไม่สามารถเข้าถึงความรู้ และ/หรือทรัพยากรเพื่อดำเนินการจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้ทันสมัย ยั่งยืน ปรับเปลี่ยนตามสภาพภูมิอากาศ และปรับให้เหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์

โครงการคอฟฟี่ดับเบิลพลัส (Coffee++) มีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการนำหลักการเกษตรกรรมฟื้นฟูไปปฏิบัติ

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โกตดิวัวร์

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการ Coffee++ เป็นโครงการในระดับสากล ซึ่งเป็นโครงการผ่านความร่วมมือแบบบูรณาการกับภาคเอกชน หรือ Integrated development partnership (iDPP) ให้การสนับสนุนความรู้ทางเทคนิคและการเป็นผู้ประกอบการเกษตรเชิงธุรกิจแก่ผู้ผลิตในโกตดิวัวร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย เพื่อยกระดับรายได้และความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพเป็นไปตามแนวทางใหม่ที่พิสูจน์แล้ว เช่น การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เกษตรกรรมฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) โรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร (Farmer Business School: FBS) แนวทางปฏิบัติด้านวนเกษตร (Agroforestry) และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรเกษตรกร โครงการฯ ดำเนินการผ่านมาตรการการฝึกอบรมภาคปฏิบัติไปพร้อมๆ กับการใช้เครื่องมือดิจิทัล เช่น แอปพลิเคชัน FBS และด้วยการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โครงการ Coffee++ มุ่งหวังที่จะขยายผลประโยชน์อันเกิดจากการพัฒนาดังกล่าวออกไปให้ไกลเกินกว่าขอบเขตของโครงการ

สนับสนุนงบประมาณโดย

กระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) และบริษัทเนสท์เล่

หน่วยงานร่วมดำเนินงาน

บริษัท เนสท์เล่
ติดต่อ
พจมาน วงษ์สง่า
ผู้อำนวยการโครงการ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง​​