Category: ข่าว

กรมชลประทาน-GIZ เปิดตัวโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย

เรื่องและภาพ กรมชลประทาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะเริ่มต้น (Inception workshop) โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water Management and Sustainable Agriculture) โดยมีผู้แทนสำนักงานชลประทานระดับภาค ผู้แทนจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) และผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

GIZ เปิดตัวโครงการการพัฒนาบริการทางการเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมภาคเกษตรไทยรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ

เรื่องและภาพโดย: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เปิดตัวโครงการมูลค่า สี่ล้านยูโร หรือราว 150ล้านบาท เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรายย่อยของไทยและภูมิภาคอาเซียนให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินที่จำเป็นเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศในภาคเกษตร โครงการการพัฒนาบริการทางการเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศสำหรับภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Innovative Climate Risk Financing for the Agricultural Sector in the ASEAN Region:Agri-Climate Risk Financing) ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน (BMZ) โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เป็นผู้ดำเนินโครงการทั้งในระดับภูมิภาคผ่านแผนกอาหาร เกษตรและป่าไม้ ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน (The

ไทยประกาศความสำเร็จความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน พร้อมเดินหน้าใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืช อิเล็กทรอนิกส์ (ePhyto) เพื่ออำนวยความสะดวกการส่งออกเต็มรูปแบบ

เรื่องและภาพประกอบ:โครงการ ePhyto ประเทศไทย กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมศุลกากร เห็นชอบร่วมกันส่งเสริมการใช้ ePhyto หรือใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการส่งออกของไทยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้ ePhyto สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐที่จะแก้ปัญหาระบบเอกสารและช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานด้านการส่งออกให้กระชับรวดเร็วยิ่งขึ้น ประเทศไทยออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ให้กับผู้ส่งออกสินค้าประเภทพืชและผลิตภัณฑ์พืช สู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลก รวมทั้งหมด 392,532 ฉบับต่อปี (ค่าเฉลี่ยช่วงปี 2563-2565) ซึ่งการใช้ ePhyto จะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากในการเดินทางของผู้ประกอบการ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ได้กว่า 166 ล้านบาทต่อปี หรือ 4.89 ล้านเหรียญดอลล่าร์ ประเทศไทยประกาศความสำเร็จความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน ส่งเสริมการใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic

เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย พร้อมคณะเยือนโครงการ SPOPP กระบี่

เรื่องและภาพ: จันทิมา กูลกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย พร้อมคณะได้ไปเยือนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด และพบปะเกษตรกรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสานฝันเพหลาพัฒนาเศรษฐกิจ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Sustainable Palm Oil Production and Procurement หรือ SPOPP) การเดินทางเยือนโครงการ SPOPP ครั้งนี้มีผู้บริหารบริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด คณะผู้บริหารบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม นายเฉลิมพล จิระธำรง

ไทย ไรซ์ นามา เปิดบ้านต้อนรับแขกวีไอพีเยอรมัน-ไทย

เรื่องและภาพ: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ไทย ไรซ์ นามา มีโอกาสต้อนรับแขกผู้มีเกียรติทั้งจากเยอรมนี และประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน แปลงนาสาธิตข้าวรักโลกของสมาชิกโครงการ ดร.โทบิอัส ลินด์เนอร์ มอบหนังสือ 160 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตเยอรมัน-ไทย ให้กับคุณธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ระลึก ท่านแรกดร. โทบิอัส ลินด์เนอร์ (Tobias Lindner) รัฐมนตรีช่วยประจำสำนักรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พร้อมด้วย นายเกออร์ก ชมิดท์ (Georg

GIZ จับมือ อูรมัต เดินหน้าข้อตกลงความร่วมมือการใช้ประโยชน์ฟางข้าวเพื่อเกษตรกรรายย่อยเชียงราย

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมกับ บริษัท อูรมัต จํากัด ซึ่งเป็นกิจการเพื่อสังคม ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้าวที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว จับมือร่วมกันดำเนินโครงการการใช้ประโยชน์ฟางข้าวจากเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย เพื่อลดปัญหาการเผาฟางข้าว การขาดทางเลือกในการจัดการฟางข้าวที่เหมาะสมนั้นทำให้ฟางข้าวและตอซังมักถูกเผาโดยเกษตรกรเพื่อเตรียมพื้นที่ แม้ว่าการเผาจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและส่งผลกระทบต่อสุขภาพก็ตาม นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย และมาเลเซีย นางพจมาน วงษ์สง่า หัวหน้าโครงการส่วนภูมิภาค GIZ และนายอารวิน นารูลา ประธานบริษัท อูรมัต จำกัด ได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมืออย่างเป็นทางการในโครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท อูรมัต จำกัด และ GIZ

Scroll to Top