Category: ข่าว

โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGC-EMC): ความมุ่งมั่นร่วมกันสู่เป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนจากภาคเกษตรของประเทศไทย

เรื่องและภาพ: เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30% ภายในปี 2030 ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ในขณะที่ส่วนแบ่งจากการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนยังต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานยั่งยืนของประเทศไทย จึงได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือไทย–เยอรมันด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Thai-German Cooperation on Energy, Mobility, and Climate (TGC-EMC) คุณ พีรพันธ์ คอทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวเปิดงาน โครงการ TGC-EMC เป็นความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนีเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของประเทศไทยไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการฯ ประกอบด้วยห้าภาคส่วน ได้แก่ ภาคส่วนพลังงานชีวมวล (Biomass) ภาคส่วนพลังงานหมุนเวียน (Renewable

วิทยากร SPOPP ต้นแบบที่ให้มากกว่าการสอนและการแบ่งปันความรู้

เรื่องและภาพ จันทิมา กูลกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร ถนอมขวัญ จันทร์พิบูลย์ วิทยากร โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน บริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด วิทยากรมักถูกมองว่าเป็นเพียงผู้บรรยาย แต่สำหรับโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน หรือ SPOPP แล้ว วิทยากรของเรานั้นยังเป็นทั้งผู้สอน ผู้นำกระบวนการฝึกอบรม และเป็นผู้ตรวจสอบที่คอยติดตามว่าเกษตรกรได้นำความรู้และเทคนิคที่ได้จากการอบรมไปใช้หรือไม่ วิทยากรของโครงการ SPOPP หลายคนยังคงสนุกกับสิ่งที่ทำและพัฒนาการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องต่างๆ แล้ว วิทยากรยังเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันไปสู่เป้าหมายในการได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน หรือ RSPO กิจกรรมที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยากรโครงการ SPOPP ได้อย่างชัดเจน ถ้าขาดคนใดคนหนึ่งไป หรือหากใครขาดคุณสมบัติไปข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานอย่างแน่นอน นอกจากนั้น ความท้าทายสำคัญที่วิทยากรต้องเผชิญในการพัฒนาทักษะก็คือการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่อาจแตกต่างไปจากสิ่งที่ได้รู้ในห้องเรียน

บางจากชู “ข้าวลดโลกร้อน”จากโครงการไทยไรซ์นา ให้เป็นสินค้าที่ระลึกวันสิ่งแวดล้อมโลก

Photos: Kiattiyote Wongudomlert, Agriculture and Food Cluster/ GIZ Thailand ผู้แทนเกษตรกรจากวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่ตำบลเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ส่งมอบ “ข้าวลดโลกร้อน” จำนวน 40 ตัน ให้กับนายสมชัย เตชะวณิช ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด กลุ่มธุรกิจการตลาด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ บางจากฯ รับซื้อจากวิสาหกิจชุมชน ผ่านบริษัท ออมสุขวิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เพื่อนำมาเป็นสินค้าสมนาคุณแก่ลูกค้าสถานีบริการบางจากที่ร่วมรายการ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอดเดือนมิถุนายน

เพิ่มผลผลิตและรายได้จากการจัดการสวนมะพร้าวด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน

เรื่อง อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล และ เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ เป็นเวลาประมาณสองปีแล้วที่ชนัญญา เชวงโชติ วางมือจากอาชีพเชฟอาหารในต่างแดน และเดินทางกลับบ้าน เพื่อมาดูแลบิดาอายุ 85 ปี และสวนมะพร้าวขนาด 35 ไร่ที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี    คุณชนัญญา หรือกุ้ง ชื่อเล่นที่คนในครอบครัวเรียกคือสมาชิกรุ่นทีสองของสวนลุงชะเอม เธอเติบโตที่สวนมะพร้าวของพ่อ ถึงแม้จะไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศเกือบ 10 ปี คุณกุ้งก็มีความตั้งใจที่จะกลับมาช่วยครอบครัวดูแลกิจการ “สวนลุงชะเอม“ สวนมะพร้าวที่กำลังเผชิญกับความท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งน้ำเค็มรุกล้ำสวน สภาพดินเสื่อมโทรม

เปิดตัวโครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัส (Coffee++) ในประเทศไทย

เรื่อง: วัลนิภา โสดา ผู้จัดการโครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัส (ฝ่ายความร่วมมือพันธมิตรและความยั่งยืน) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความรุนแรงจนส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม โดยระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมยังทำให้ผลผลิตกาแฟและรายได้ของเกษตรกรลดลง เพื่อช่วยเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้โครงการ “ความยั่งยืนและการเพิ่มมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่อุปทานการเกษตร” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือพันธมิตรระดับโลก ในการกำกับดูแลของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี (BMZ) ได้ร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชน คือ บริษัท เนสท์เล่ ในการพัฒนาโครงการฯ โดยใช้หลักพหุวิทยาการ ทั้งแนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งพันธมิตรทั้งหมดเล็งเห็นถึงศักยภาพของโครงการฯ ในการช่วยพัฒนาระบบนิเวศแวดล้อมและยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยความพยายามที่จะสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2565 องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมันและบริษัท เนสท์เล่ ได้ตกลงที่จะดำเนินโครงการ “ยกระดับคุณภาพชีวิตและความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของผู้ผลิตกาแฟรายย่อยด้วยระบบการผลิตแบบเกษตรกรรมฟื้นฟู” หรือ “คอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัส

ธ.ก.ส. และ GIZ ร่วมศึกษาดูงานประเทศเยอรมนีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนากลไกการเงินสีเขียวและนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

เรื่องและภาพ นรวิชญ์ สุวรรณกาญจน์, กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร คณะผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เดินทางศึกษาดูงานด้านการพัฒนากลไกการเงินสีเขียวและนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 22 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืน รวมทั้งเปิดโอกาสผู้บริหารของธ.ก.ส.ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สมาคมการเกษตร รวมถึงสถาบันการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลไกหรือเครื่องมือทางการเงิน และรูปแบบธุรกิจการเกษตรที่ส่งเสริมความยั่งยืนทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของเยอรมัน โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือการรองรับความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษาดูงานในครั้งนี้ว่าเป็นการส่งเสริมให้คณะศึกษาดูงานได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนารูปแบบการเงินสีเขียว การสร้างนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งสอดคล้องการนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ของประเทศไทย รวมถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม  และบรรษัทภิบาล (Environmental,

Scroll to Top