Category: ข่าว

GIZ ร่วมมือกับ GGC และRSPO บูรณาการแนวทางการลดผลกระทบต่อสภาพภูมิ อากาศเข้าสู่การรับรอง RSPO สำหรับผู้ปลูกปาล์มน้ำมันไทย

เรื่องและภาพ: การผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ /กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ผู้บริหารจาก GGC RSPO และ GIZ ในช่วงพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และองค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้บริหารและผู้แทนจาก GGC GIZ หน่วยงานภาครัฐรวมทั้งพันธมิตรใน 4 จังหวัดผู้ผลิตปาล์มน้ำมันภาคใต้ ได้แก่ ตรัง กระบี่ พังงา

GIZ และ เป๊ปซี่โค ประกาศความสำเร็จในการยกระดับห่วงโซ่อุปทานพืชผล พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

เรื่องและภาพ: โครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่งและข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (RePSC) นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (ที่สามจากขวา) พร้อมด้วยผู้บริหารของ เป๊ปซี่โค และ GIZ และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการและเกษตรกรสมาชิกโครงการร่วมเฉลิมฉลองความสำเร็จของการดำเนินโครงการ RePSC องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) พร้อมด้วยบริษัท เป๊ปซี่โค เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด และบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนท้องถิ่น ประกาศความสำเร็จในการดำเนินโครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

GIZ-เชลล์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างชุมชนเข้มแข็งวางระบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

เรื่องโดย โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการน้ำและการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ /GIZ ประจำประเทศไทย “ระบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชุมชน” คือแนวคิดที่เชลล์และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย นำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปัญหาเรื่องการจัดการน้ำเป็นต้นกำเนิดของความท้าทายทางเศรษฐกิจของชุมชน พลังงานสะอาดที่กำลังเป็นที่นิยมในทุกภาคส่วน ถูกนำมาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน เชลล์ในฐานะบริษัทพลังงานชั้นนำระดับโลก ผสานความร่วมมือ GIZ ประจำประเทศไทยในฐานะพันธมิตรหลัก เทศบาลตำบลทุ่งหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด และวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ริเริ่มโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการน้ำและการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Shell Water Resource Management) เพื่อแก้ปัญหาการจัดการน้ำที่เป็นรากฐานความท้าทายทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นกลไกขับเคลื่อนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน นางสาวอรอุทัย ณ เชียงใหม่ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย

GIZ จับมือพันธมิตรจัดงานประชุมสัมมนาเพื่อลดมลพิษทางอากาศจากการเผาในภาคเกษตรกรรมในประเทศไทย

เรื่องและภาพ: โครงการนำร่องการใช้ประโยชน์ฟางข้าวอย่างยั่งยืน กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร กรุงเทพฯ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 – องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ประจำประเทศไทย เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการจัดงานประชุมสัมมนาในหัวข้อ “การลดมลพิษทางอากาศผ่านการหลีกเลี่ยงการเผาในภาคเกษตรกรรม” ที่โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ งานประชุมสัมมนาครั้งนี้จัดโดยกลุ่มเครือข่าย Friends of Thai Agriculture (FTA) ร่วมกับบริษัทดีแอลจี เอเชีย แปซิฟิก (DLG Asia Pacific) โดยได้เชิญตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ สถานทูต องค์กรระหว่างประเทศ

GGC-GIZ ต่อยอดความสำเร็จ “การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน สู่การผลิตปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำ”

เรื่องและภาพ: การผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ /กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ผู้บริหารจาก GGC ผู้แทนจาก GIZ ภาคีเครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืน 4 จังหวัดภาคใต้ ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกภายหลังเสร็จสิ้นพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือโครงการ SPOPP CLIMA กระบี่ 27 กันยายน 2567  – บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ประจำประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายย่อย 4 จังหวัดภาคใต้ร่วมกันต่อยอดความสำเร็จ ประกาศยกระดับจากการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนสู่การผลิตปาล์มน้ำมันแบบคาร์บอนต่ำ

เสริมศักยภาพวิศวกรชลประทานด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เรื่อง: พงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม และ รวิวรรณ บุญไชย ภาพ: ธนพล อุณหฤกษ์ GIZ ร่วมกับกรมชลประทาน จัดฝึกอบรมด้านเทคนิคให้ผู้ปฏิบัติงานด้านน้ำในกรมชลประทาน ในหัวข้อกระบวนการการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Risk and Vulnerability Assessment: CRVA) เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อไม่นานมานี้  องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย ร่วมกับกรมชลประทานจัดการฝึกอบรมในหัวข้อ“กระบวนการการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water