30 มีนาคม 2567

โครงการคอฟฟี่ ดับเบิ้ลพลัสกับกิจกรรมการให้ความรู้เกษตรกร ณ ศูนย์รับซื้อกาแฟสวี และกระบุรี

เรื่อง:วีรินทร์ภัทร์ เจนวัฒนากูล / กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร ภาพ:โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัสประเทศไทย

การสาธิตทดสอบความคงตัวของเม็ดดิน เพื่อให้เกษตรกรเห็นความคงทนและการเกาะยึดของเม็ดดิน และเห็นความแตกต่างระหว่างดินที่มีสุขภาพดี กับดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุต่ำ

ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นช่วงเวลาทองของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสตาในจังหวัดชุมพร ระนองและจังหวัดใกล้เคียงเพราะเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยว และซื้อ-ขายผลผลิตเมล็ดกาแฟ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบโดยตรงกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสตา เนื่องจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวปีล่าสุดคือช่วงปลายปีพ.ศ. 2566 ถึงต้นปีพ.ศ. 2567 เมล็ดกาแฟสุกช้า ทำให้ตารางการเก็บเกี่ยวของเกษตรกรต้องล่าช้าออกไป ผลผลิตยังลดลงด้วย ทำให้ราคารับซื้อกาแฟสูงกว่าปีก่อน ๆ ซึ่งจะเริ่มเก็บผลผลิตได้ในเดือนตุลาคม

โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัสประเทศไทย โดย บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด และ GIZ จึงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับเกษตรกรที่มาขายกาแฟที่ศูนย์รับซื้อกาแฟสวี จังหวัดชุมพร และศูนย์รับซื้อกาแฟกระบุรี จังหวัดระนอง ช่วงระหว่างเดือนมกราคม ถึงกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงสาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการปลูกกาแฟโรบัสตา

ดินยังเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของหลักสูตรการฝึกอบรมเกษตรกรเชิงฟื้นฟูที่โครงการฯเตรียมแผนส่งเสริมความรู้ผ่านกิจกรรมอบรมให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และจังหวัดใกล้เคียง

โครงการฯได้ทำการสาธิตการทดสอบความคงตัวของเม็ดดิน เพื่อให้เกษตรกรเห็นความคงทนและการเกาะยึดของเม็ดดินและเห็นความแตกต่างระหว่างดินที่มีสุขภาพดี กับดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุต่ำ นอกจากนี้ยังได้ทำการสาธิตแบบจำลองน้ำฝน ซึ่งเป็นการสาธิตการซึมของน้ำผ่านดินที่มีความคงตัวของเม็ดดินต่างกัน  เพื่อดูความแตกต่างของความคงตัวของเม็ดดิน

การสาธิตทั้งสองแบบช่วยให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงดิน เพราะเมื่อมีการชะล้างของฝน การพังทลายของหน้าดินก็จะมีความแตกต่างกันตามคุณภาพของดิน เพราะดินคือปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการปลูกพืชทุกชนิด การเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นกาแฟ 

โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัสประเทศไทยจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับเกษตรกรที่ศูนย์รับซื้อกาแฟสวีและกระบุรี
นอกจากนี้ดินยังเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของหลักสูตรการฝึกอบรมเกษตรกรเชิงฟื้นฟูที่โครงการฯเตรียมแผนส่งเสริมความรู้ผ่านกิจกรรมอบรมให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และจังหวัดใกล้เคียงในปีพ.ศ. 2567-2568 โดยได้จัดทำแบบสอบถามกับเกษตรกร เพื่อสำรวจกิจกรรมใแปลงกาแฟตามหลักปฏิบัติของเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูและหัวข้ออื่น ๆ ที่เกษตรกรให้ความสนใจศึกษาเรียนรู้ เพื่อนำแนวคิดเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูไปสู่การปฏิบัติใช้

เกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู เป็นรูปแบบการทำเกษตรที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูกและระบบนิเวศ ซึ่งมอบคุณประโยชนที่หลากหลายต่อเกษตรกร สังคม และสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์และธาตุอาหารในดิน ในขณะเดียวกันก็ช่วยตรึงคาร์บอนและชีวมวลรูปแบบต่างๆ ไว้ในดินซึ่งมีส่วนช่วยในการลดปริมาณคาร์บอนที่อยู่ในบรรยากาศและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย เกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูยังช่วยให้ระบบการผลิตมีความทนทานต่อผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ศัตรูพืชหรือโรคพืชมากขี้น และลดการพึ่งพาสารเคมีอันตรายได้ ดังนั้นเกษตรกรรเชิงฟื้นฟูจะช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับตัวสําหรับพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกรจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เช่นความผันผวนของตลาด การเพิ่มขึ้นของราคาปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกร ■

แกลอรี่ภาพ

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN