Category: ข่าว

ธ.ก.ส.-GIZ เดินหน้าพัฒนาขีดความสามารถบุคลากร-เกษตรกร เตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อรับมือความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ

เรื่อง: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร ภาพ: เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)ถ่ายรูปร่วมกัน กรุงเทพฯ 20 กันยายน พ.ศ. 2566 – ที่ห้องประชุม 801 ชั้น 8  สำนักงานใหญ่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร   (ธ.ก.ส.) มีการจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมกำหนดกิจกรรมและความร่วมมือภายใต้โครงการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Innovative Climate Risk Financing for the Agricultural Sector in the ASEAN Region

GIZ ประสานภาครัฐ-วิชาการ-เอกชน แลกเปลี่ยนแนวทางการจัดการการเผาทางการเกษตร

กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทย GIZ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นปัญหาการเผาการเผาเศษซากพืชหรือวัชพืช และเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่การเกษตรกรรม ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศในภาคเหนือของประเทศไทย  กิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการจัดการปัญหาการเผาเศษซากพืชหรือวัชพืชและเศษวัสดุจากการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมการใช้ประโยชน์ฟางข้าวอย่างยั่งยืน ว่าที่ร้อยตรีดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์ เกษตรจังหวัดเชียงรายกล่าวเปิดงาน และนำเสนอโครงการต้นแบบ “เกษตรปลอดการเผา” เพื่อลดปัญหาหมอกควันและไฟป่าของจังหวัดให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กรมการข้าว สำนักงานจังหวัดเชียงราย สำนักงานส่วนภูมิภาคและจังหวัดจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ธนาคารเพื่อการเกษตรและการเกษตรสหกรณ์ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์  บริษัท อูรมัต จำกัด บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง

อาเซียนบนเส้นทางสู่ความยั่งยืนและความปลอดภัยทางอาหาร

เรื่องและภาพ: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย ผู้แทนจากสมาชิกประเทศอาเซียนเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคในหัวข้อ “ระบบความปลอดภัยทางอาหารในอาเซียน” (Food Safety Systems in ASEAN) ที่กรุงเทพฯ เมื่อเร็วนี้ โดยมีกรมวิชาการเกษตร ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ร่วมกับโครงการพัฒนาบุคลากรในภาคอาหารผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียน ระยะที่ ๓ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงเกษตรและป่าไม้ประเทศญี่ปุ่น และโครงการความร่วมมืออาเซียน-เยอรมัน คือ โครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน  (ASEAN-German Cooperation project on Promotion of Sustainable Agricultural Value Chains in ASEAN: AgriTrade)

การออกแบบเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตร

เรื่องและภาพ: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 GIZ ร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอาเซียน จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคสำหรับโครงการ “การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน” (Agri-Climate Risk Financing) เพื่อยกระดับการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้กับเกษตรกรทั้งชายและหญิงให้มีศักยภาพในการปรับตัวและตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ พร้อมทั้งระบุถึงความต้องการเฉพาะของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States) ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ คุณเมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ ผู้จัดการโครงการการพัฒนาบริการทางการเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศเกริ่นนำเกี่ยวกับโครงการและกล่าวนำเข้าสู่การประชุมในหัวข้อแรก “เหลียวหลัง แลหน้า” เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง GIZ และชาติสมาชิกอาเซียน ในการทำงานร่วมกันภายใต้โครงการ การประชุมในครั้งนี้มีตัวแทนจากคณะทำงานด้านพืชของอาเซียน (ASEAN Sectoral Working

โครงการ E-WMSA: การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศไทยต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำยม-น่าน

เรื่องและภาพ: เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงและเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอีก 30 ปี นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะประสบวิกฤติภัยแล้งและอุทกภัยรุนแรงบ่อยครั้งขึ้น จนอาจส่งผลเสียต่อภาคเกษตรกรรม ดังนั้น ในแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 จึงได้กำหนดให้การบริหารจัดการน้าภายใต้ภาวะวิกฤตภัยแล้งและอุทกภัยเป็นเรื่องเร่งด่วนระดับชาติ เพื่อสนับสนุนการจัดการน้ำและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยด้วย ด้วยเหตุนี้กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF) จึงจัดตั้งโครงการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water Management

การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยโมเดล BCG

เรื่องและภาพ: ธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทย การทำการเกษตรในปัจจุบันนอกจากจะให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการผลิตแล้ว ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ปัจจุบันหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ดังจะเห็นได้จากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ประเทศไทยเองนั้นก็มีแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวผ่านทางโมเดล BCG (Bio-Circular-Green Economy Model) ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ประกอบไปด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (B: Bio Economy) การนำทรัพยากรที่มีมาสร้างมูลค่า โดยใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม เศรษฐกิจหมุนเวียน (C: Circular Economy)

Scroll to Top