18 มกราคม 2567

ธ.ก.ส. – GIZ กระชับความร่วมมือพัฒนาการเกษตรที่เท่าทันต่อภูมิอากาศในประเทศไทย

เรื่อง: เมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ ภาพ:ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

นายไรน์โฮลด์ เอลเกส (Reinhold Elges) ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศมาเลเซีย มัลดีฟส์ เมียนมาร์ เนปาล สิงคโปร์ ศรีลังกา ประเทศไทย และ ดร. นานา คึนเคล (Dr Nana Kuenkel) ผู้อำนวยการและผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทยเข้าพบ นายเชษฐา แหล่ป้อง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่สำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

การเข้าพบในครั้งนี้เน้นย้ำถึงการดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องภายใต้การลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างทั้งสองหน่วยงานเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 โดยมีสารสำคัญเพื่อมุ่งเน้นการยกระดับความสามารถและการเตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อการเกษตรสีเขียว และกลไกทางการเงินที่ยั่งยืน และเป็นเตรียมความพร้อมและจัดการกับผลกระทบของสภาพภูมิอากาศต่อภาคเกษตรกรรมในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเรื่องการทำนา

ประเทศไทยได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai Rice Nationally Appropriate Mitigation Actions) หรือไทย ไรซ์ นามา (Thai Rice NAMA) ภายใต้การดำเนินงานของกรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ GIZ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สำคัญสำหรับการทำนาที่ยั่งยืนและลดก๊าซเรือนกระจก โดยโครงการนี้จะดำเนินการจนไปถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567

ผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานยังได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสรุปโครงการไทย ไรซ์ นามา (Thai Rice NAMA) พร้อมสานต่อความร่วมมือด้านเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย

“ธ.ก.ส. มีนโยบายที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวตามแนวทางใหม่ที่ช่วยเพิ่มผลผลิต คุณภาพ และรายได้ และลดภาวะโลกร้อน” คุณเชษฐา กล่าว

ด้านผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทย ได้กล่าวย้ำว่า “การผลิตข้าวอย่างยั่งยืนจะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทยให้มีความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon-Neutrality) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Greenhouse Gas Emissions) เรายังคงช่วยเหลือพันธมิตรทางการเกษตรในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการนำการทำนาแบบยั่งยืนมาปฎิบัติพร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตในการทำนาเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว” 

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN