ระยะเวลาดำเนินโครงการ : 2561 – 2564

โครงการพัฒนาโครงสร้างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคอาเซียน

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและเอเชียตะวันออก ( Economic Research Institute for ASEAN and East Asia) ธุรกิจกว่าร้อยละ 90 ในภูมิภาคอาเซียน คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium-sized Enterprises: SMEs) และก่อให้เกิดการจ้างงานโดยรวมอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 57- 91 ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งของปริมาณการส่งออก และรายได้โดยรวมอยู่แค่ระหว่างร้อยละ 10 – 30 เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการก้าวเข้าสู่สากลของ SMEs ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำมาก
การขาดการรับรู้ และการได้รับข้อมูลที่จำกัดว่าจะเข้าสู่ตลาด และได้รับประโยชน์ทั้งจากตลาดภายในและภายนอกภูมิภาคอย่างไรนั้น ยังคงเป็นความท้าทายหลักที่ เอสเอ็มอี ในภูมิภาคอาเซียนเผชิญอยู่ บ่อยครั้งที่การไม่รู้เงื่อนไข และมาตรฐานในระดับนานาชาติส่งผลให้ เอสเอ็มอี ขาดการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าระดับภูมิภาคหรือระดับโลก และทำให้การเติบโต และการขยายตัวของธุรกิจเป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นการพัฒนาการเข้าถึงข้อมูล เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงโปรแกรมต่างๆ ที่สร้างศักยภาพที่ตรงจุด จึงมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเข้าถึงตลาดได้มากขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติ

วัตถุประสงค์

เพื่อปรับปรุงและพัฒนาข้อมูล และบริการต่างๆ ที่ส่งเสริม เอสเอ็มอี ภายใต้กรอบการทำงานของแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2568 (ASEAN Strategic Action Plan for SME Development: SAPSMED 2025) ซึ่งสอดคล้องกับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ด้วยการนำแนวคิดหลักต่อไปนี้มาปฏิบัติใช้
  1. ปรับปรุงศูนย์ให้บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาเซียน
  2. สร้างความแข็งแกร่งให้กับศูนย์ข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งชาติ
  3. สนับสนุนให้บริการต่างๆ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระดับชาติก้าวเข้าสู่สากล

ประเทศ

ประเทศบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม

แนวทางการดำเนินงาน

ด้วยความร่วมมือกับคณะกรรมการด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยอาเซียน โครงการฯ จะสนับสนุนให้มีการนำแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอาเซียน ปีพ.ศ. 2568 (SAPSMED 2025) มาปฏิบัติโดยเน้นไปที่ 2 จุด คือ การปรับปรุงการเข้าถึงตลาดและการเข้าสู่สากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (1 เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ C) รวมถึงยกระดับนโยบาย และสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบ (2 เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ D) นอกจากนี้ โครงการฯ ยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับคำแนะนำจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน โดยคาดการณ์ให้มีความร่วมมือระดับประเทศอย่างใกล้ชิดกับประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม เพื่อปิดช่องว่างของการพัฒนาและการนำมาปฏิบัติใช้ ในขณะเดียวกันประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ก็จะเข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้วย โครงการฯ มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนความช่วยเหลือและตอบสนองความต้องการที่เกี่ยวข้องกับ เอสเอ็มอี ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้นผู้ได้รับผลประโยชน์หลักจากโครงการนี้ก็คือ เจ้าของและทีมงานเอสเอ็มอี ของประเทศสมาชิกอาเซียน เฉพาะสำหรับธุรกิจที่มีความตั้งใจ และมีศักยภาพที่จะกล่าวสู่ความเป็นสากลเท่านั้น ไม่รวมถึง เอสเอ็มอี ที่สนใจการดำเนินธุรกิจเฉพาะแค่ตลาดระดับชาติเท่านั้น แม้ว่าธุรกิจเหล่านี้อาจจะได้รับผลประโยชน์โดยอ้อม ด้วยการจัดหาสินค้าขายส่งให้กับ เอสเอ็มอี อื่นๆ ที่ถูกบูรณาการอยู่ในห่วงโซ่มูลค่าระดับภูมิภาคก็ตาม

ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา

  1. บริการต่างๆ ด้านข้อมูลและการส่งเสริม เอสเอ็มอี ระดับภูมิภาค ได้รับการสนับสนุนด้วยระบบดิจิทัลและกระตุ้นให้เกิดธุรกิจ เอสเอ็มอี เพิ่มขึ้น
  2. บริการต่างๆ ด้านข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ เอสเอ็มอี นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานในภูมิภาคอาเซียน
  3. การเข้าถึงตลาดและสภาพคล่องด้านการลงทุนถูกยกระดับ นำไปสู่การเติบโตทางด้านการค้าและธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน
  4. เครือข่ายของผู้ประกอบการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสด้านการค้าทั้งภูมิภาค
  5. แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของประเทศไทยในการส่งเสริมบริการด้านข้อมูลเชิงดิจิทัลของธุรกิจ เอสเอ็มอี ได้ถูกนำไปปรับใช้กับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ

ผู้สนับสนุนด้านงบประมาณ

กระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ)

หน่วยงานร่วมดำเนินการ

คณะกรรมการด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยอาเซียน และหน่วยงานระดับชาติที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ เอสเอ็มอี ของทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยพันธมิตรในประเทศไทย คือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
ติดต่อ
ยศธนา ศรีพรหมไชย
Advisor

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top