Category: ข้าว

“ข้าว” และ “ข้าวยั่งยืน” ทางเลือกของผู้บริโภคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

สริดา คณานุศิษฎ์ โครงการความร่วมมือ ไทย – เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม และ โครงการยกระดับความสำคัญของข้าวยั่งยืนผ่านเวทีข้าวยั่งยืน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยและองค์กรภาคเอกชนจากนานาประเทศ ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับประโยชน์ของ “ข้าวยั่งยืน” ให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภคทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา GIZ ประเทศไทยได้มอบหมายให้ยูโกฟ (YouGov) บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดระดับโลก  ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้ของผู้บริโภคชาวไทยที่มีต่อข้าวที่ผลิตอย่างยั่งยืน รวมไปถึงคุณลักษณะที่ผู้บริโภคกำหนดว่าเป็นข้าวยั่งยืนและผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจซื้อตามคุณลักษณะเหล่านั้น ซึ่งได้มีการกำหนดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายผู้มีอำนาจตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับการบริโภคภายในครัวเรือน โดยมีการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชาวไทยจำนวนมากกว่าหนึ่งพันรายที่บริโภคข้าวมากกว่าห้ามื้อต่อสัปดาห์ โดยพิจารณาจากเพศ อายุ การศึกษา การบริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืน ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า ปัญหาที่เกิดจากความแห้งแล้งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ร้อยละ 57)

ไทย ไรซ์ นามา เดินหน้ามาตรการทางการเงิน พร้อมสนับสนุนเกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาลดโลกร้อน

กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ปทุมธานี – โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  (ไทย ไรซ์ นามา) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) พร้อมเดินหน้าสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรายย่อยเข้าถึงเทคโนโลยีการทำนาลดโลกร้อน ชูมาตรการทางการเงิน “คน-ละ-ครึ่ง” ช่วยเหลือเกษตรกรเข้าถึงการปรับระดับพื้นที่นา ด้วยระบบเลเซอร์ และการจัดการฟางข้าวและตอซังข้าว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตข้าวของไทย (จากซ้ายไปขวา) มร.ไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อํานวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจําประเทศไทยและมาเลเซีย นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมการข้าว นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และนายพงษ์พันธ์

โครงการข้าวหอมมะลิยั่งยืนสร้างโอกาส-สานพลังเพื่อผู้หญิงในภาคการเกษตรของไทย

เรื่อง: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ: ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร เกษตรกรสตรีจากภาคอีสานได้รับการรับรองจาก เวทีข้าวยั่งยืน หรือ Sustainable Rice Platform (SRP)  พร้อมพัฒนาส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิไทยลดโลกร้อน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของการ เกษตรกรสตรีจากร้อยเอ็ดและอุบลราชธานี ได้รับเชิญจากมิสเตอร์ ฮันส์-อูลริค ซูเบ็ค อัครราชทูตและหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย และดร.เบิร์น คริสเตียนเซน ที่ปรึกษาทูตด้านอาหารและการเกษตร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงความสำเร็จของการปลูกข้าวหอมมะลิยั่งยืนในระดับชุมชน มัสสา โยริบุตร พูนทรัพย์ พรหมมี และ อุดร คำวงสา คือเกษตรกร 3 คนแรกของไทยและเป็นเกษตรกรสามคนแรกของโลกที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในฐานะ

โครงการ Thai Rice NAMA ยกระดับความช่วยเหลือปี 65 ให้เงินอุดหนุน 50% ‘คนละครึ่ง’ สำหรับชาวนาและผู้ประกอบการที่สนใจเพื่อการทำนาวิถีใหม่ลดโลกร้อน

พิชญนันท์ พรหมพิชญานนท์ กลุ่มเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ ‘ไทย ไรซ์ นามา’ เปิดตัวมาตรการยกระดับความช่วยเหลือโดยเพิ่มมาตรการสนับสนุนด้านการเงิน “คน-ละ-ครึ่ง” เพื่อผลักดันเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวและส่งเสริมการทำนาวิถีใหม่เพื่อลดโลกร้อน นายณัฎฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการโครงการ ไทย ไรซ์ นามา กล่าวว่ามาตรการความช่วยเหลือทางการเงินชุดล่าสุดนี้ ถูกออกแบบมาสำหรับชาวนาและผู้ให้บริการทางการเกษตรในพื้นที่ดำเนินโครงการ 6 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี  อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ มาตรการสนับสนุนควบคู่ หรือแพ็กเกจ 1 

การจัดการฟางเพื่อลดค่าใช้จ่ายจากการทำนาและลดโลกร้อน

เรื่อง: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ: ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร สิบโมงเช้าของทุกวันเป็นเวลาที่เพียงใจ แก่นอาสา และมณีรัตน์ แก่นพรม เพื่อนสนิทสมัยมัธยมของเธอ เพิ่งจะเสร็จสิ้นภารกิจการให้อาหารวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้าแห้งบริเวณที่นา 24 ไร่อำเภอสำโรง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีไปราว 1 ชั่วโมง ฤดูกาลทำนาปีที่ผ่านมา เพียงใจ สามารถเก็บก้อนฟางอัดได้มากกว่า 200 ก้อน ปริมาณฟางอัดก้อนที่เก็บได้สามารถนำมาเลี้ยงวัวที่ครอบครัวเธอเลี้ยงไว้ได้ตลอดทั้งปี โดยเธอจ่ายเงินค่าบริการอัดก้อนฟางเพียง 2,000 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ เทียบไม่ได้เลยหากต้องไปซื้อฟางมาเลี้ยงวัวเพราะราคาจะพุ่งสูงถึง 25-30 บาทต่อก้อนเลยทีเดียว เพียงใจ แก่นอาสากำลังให้ฟางวัว ฟางเหล่านี้เก็บจากที่นาของตนเองและนำมาอัดเป็นก้อน วัวหนึ่งตัวสามารถกินฟางข้าวได้มากถึง

ประเทศไทยพัฒนาแผนงานส่งเสริมชาวนาปลูกข้าวลดโลกร้อน เร่งเปิดทางรายย่อยเข้าถึงแหล่งทุนสีเขียว

นรวิชญ์ สุวรรณกาญจน์ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร กรมการข้าวจับมือจีไอแซดตั้งเป้าส่งเสริมการทำนา เพิ่มขีดความสามารถชาวนาไทยให้สามารถปรับตัวและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นอันตรายต่อภูมิอากาศโลก  ดร. อันญ่า เอิลเบค ดร. อันญ่า เอิลเบค ผู้อํานวยการส่วนธนกิจการเกษตร กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำเทศไทย ร่วมกับกรมการข้าวพัฒนาแผนงานเพื่อการปลูกข้าวที่มีคุณสมบัติช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและช่วยให้ชาวนาสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้ชื่อโครงการ “การเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “Thai Rice GCF” เพื่อนำเสนอให้กับกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF) ซึ่งเป็นกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเตรียมความพร้อมและสามารถพัฒนาวิธีการปลูกข้าวลดโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน