Category: ข้าว

ไทยเล็งหาพันธมิตรแหล่งทุนสีเขียวสนับสนุนการจัดการข้าวยั่งยืน

ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มการเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เชี่ยวชาญและหุ้นส่วนภาคการผลิตข้าว จำนวนกว่า 50 คนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมประชุมเวทีออนไลน์ในหัวข้อ “การจัดหาเงินทุนสนับสนุนข้าวอย่างยั่งยืนในประเทศไทย” (Financing Sustainable Rice in Thailand) เพื่อระดมสมอง แลกเปลี่ยนมุมมองและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนและแนวทางการพัฒนานวัตกรรม เพื่อผลักดันการปลูกข้าวอย่างยั่งยืนในประเทศไทยและภูมิภาค กิจกรรมในครั้งนี้จัดโดยโครงการริเริ่มภูมิทัศน์ข้าวอย่างยั่งยืน (Sustainable Rice Landscapes Initiative: SRLI) และแพลตฟอร์ม Just Rural Transition ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความท้าทายในห่วงโซ่อาหาร ร่วมกับสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World

ตลาดนำการเกษตรเชื่อมโยงชาวนากับห่วงโซ่การผลิตข้าวยั่งยืน

เรื่อง: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ: รินดา แก้วขอนแก่น องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ที่คุณอุดร คำวงษา ได้ผันตัวจากการทำงานช่างไฟฟ้ากลับมาทำอาชีพเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่บ้านเกิดของเธอในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (จากซ้ายไปขวา) คุณอุดร คำวงษาและ คุณมนตรี พรหมลักษณ์ ผู้จัดการพื้นที่โครงการริเริ่มข้าวที่ดีขึ้นแห่งเอเชีย ในฐานะชาวนารุ่นที่ 3 ของครอบครัว ตัวแทนของชุมชน และคุณแม่เลี้ยงเดี่ยววัย 43 ปี อุดรชื่นชอบที่จะเรียนรู้และแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงพื้นที่นาและผลผลิตข้าวของตนเองอยู่เสมอ เธอมักจะหาเวลาว่างจากการทำนา ไปเข้าร่วมการฝึกอบรมและสัมมนาที่จัดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่เกษตรและองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ ในปีพ.ศ.

เปลี่ยนนาทุ่งกุลาร้องไห้ให้เป็นพื้นที่แห่ง “ข้าวหอมมะลิยั่งยืน”

เรื่องโดย: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) สำราญ ซุยคง ชาวนาหญิงแกร่งแห่งทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดร้อยเอ็ดหยุดจับจอบเสียมชั่วคราวเพื่อมาจับไมค์ในฐานะ“วิทยากรการผลิตที่ยั่งยืน” (Smart Farmer) ในเวทีการอบรมผู้นำเกษตรกร โครงการข้าวหอมมะลิยั่งยืน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถึงแม้จะเป็นครั้งแรกที่ต้องออกมาบรรยายให้กับเพื่อน ๆ เกษตรกรและยังรู้สึกประหม่าอยู่บ้าง แต่เวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำนาและเทคนิคการปลูกข้าวผ่านไปอย่างสนุกสนานและเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ สำราญ ซุยคง ชาวนาหญิงแกร่งแห่งทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดร้อยเอ็ดหยุดจับจอบเสียมชั่วคราวเพื่อมาจับไมค์ในฐานะ“วิทยากรการผลิตที่ยั่งยืน” เวทีนี้นับเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรในดินแดน ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตรงจากการปลูกข้าวยั่งยืน รวมทั้งเทคนิคการทำนารูปแบบต่าง ๆ ให้กับเพื่อนวิทยากรเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน 52 คนเพื่อทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและเตรียมพร้อมในการเป็นวิทยากรชาวนาที่ยั่งยืน ชาวนาหญิงวัย 47 ปีจากตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดท่านนี้คือหนึ่งในชาวนากว่า

Scroll to Top