Category: กิจกรรม

GIZ ร่วมมือกับ GGC และRSPO บูรณาการแนวทางการลดผลกระทบต่อสภาพภูมิ อากาศเข้าสู่การรับรอง RSPO สำหรับผู้ปลูกปาล์มน้ำมันไทย

เรื่องและภาพ: การผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ /กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ผู้บริหารจาก GGC RSPO และ GIZ ในช่วงพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และองค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้บริหารและผู้แทนจาก GGC GIZ หน่วยงานภาครัฐรวมทั้งพันธมิตรใน 4 จังหวัดผู้ผลิตปาล์มน้ำมันภาคใต้ ได้แก่ ตรัง กระบี่ พังงา

GIZ และ เป๊ปซี่โค ประกาศความสำเร็จในการยกระดับห่วงโซ่อุปทานพืชผล พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

เรื่องและภาพ: โครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่งและข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (RePSC) นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (ที่สามจากขวา) พร้อมด้วยผู้บริหารของ เป๊ปซี่โค และ GIZ และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการและเกษตรกรสมาชิกโครงการร่วมเฉลิมฉลองความสำเร็จของการดำเนินโครงการ RePSC องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) พร้อมด้วยบริษัท เป๊ปซี่โค เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด และบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนท้องถิ่น ประกาศความสำเร็จในการดำเนินโครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

GGC-GIZ ต่อยอดความสำเร็จ “การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน สู่การผลิตปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำ”

เรื่องและภาพ: การผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ /กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ผู้บริหารจาก GGC ผู้แทนจาก GIZ ภาคีเครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืน 4 จังหวัดภาคใต้ ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกภายหลังเสร็จสิ้นพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือโครงการ SPOPP CLIMA กระบี่ 27 กันยายน 2567  – บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ประจำประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายย่อย 4 จังหวัดภาคใต้ร่วมกันต่อยอดความสำเร็จ ประกาศยกระดับจากการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนสู่การผลิตปาล์มน้ำมันแบบคาร์บอนต่ำ

เสริมศักยภาพวิศวกรชลประทานด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เรื่อง: พงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม และ รวิวรรณ บุญไชย ภาพ: ธนพล อุณหฤกษ์ GIZ ร่วมกับกรมชลประทาน จัดฝึกอบรมด้านเทคนิคให้ผู้ปฏิบัติงานด้านน้ำในกรมชลประทาน ในหัวข้อกระบวนการการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Risk and Vulnerability Assessment: CRVA) เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อไม่นานมานี้  องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย ร่วมกับกรมชลประทานจัดการฝึกอบรมในหัวข้อ“กระบวนการการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water

โครงการ SPOPP ร่วมส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียมในภาคการเกษตร

เรื่องและภาพ: เรื่องโดย จันทิมา กูลกิจและธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ / กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร แม้การเกษตรมักถูกมองว่าเป็นงานสำหรับผู้ชายแท้เท่านั้น แต่ปรัชญา รัตนบัณฑิต หรือ ปัช พิสูจน์ให้เห็นว่าความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ช่วยให้คนรอบข้างยอมรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเช่นกัน โครงการ SPOPP ช่วยให้ปัชเข้าใจการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเรียนรู้การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนสามารถยกระดับผลผลิตของสวนปาล์มของครอบครัวได้ ปัชส่งต่อความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่กว่า 400 คน รวมถึงผู้คนรอบข้าง จนได้รับการยอมรับและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย ปรัชญา รัตนบัณฑิต หรือ ปัช เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพลังความมุ่งมั่นและการเปิดใจยอมรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในภาคการเกษตร หลังจากต้องเผชิญกับความกังขาจากผู้คนรอบข้างที่ไม่เชื่อว่าเขามีความสามารถพอที่จะดูแลสวนปาล์มน้ำมันได้ รวมถึงกรอบความคิดแบบเดิมที่เชื่อว่าการเกษตรเป็นงานสำหรับผู้ชายแท้เท่านั้น แม้จะเติบโตมากับครอบครัวเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดชุมพร แต่ปัชกลับไม่สนใจเส้นทางสายนี้ จึงตัดสินใจจากบ้านเกิดมาเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อปี

GGC-GIZ ร่วมประกาศความสำเร็จการผลิตน้ำมันปาล์มยั่งยืน

เรื่องและภาพ: การผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน/กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้บริหารจาก GGC และผู้แทนจาก GIZ ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกภายหลังเสร็จสิ้นพิธีการช่วงเช้า พังงา 30 พฤษภาคม 2567 – บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ของเยอรมัน (GIZ) รวมทั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ร่วมกันประกาศความสำเร็จในการยกระดับ มาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน พิธีฉลองความสำเร็จของโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Sustainable Palm Oil Production and Procurement หรือ SPOPP) ครั้งนี้ จัดขึ้น