Category: RePSC

GIZ และ เป๊ปซี่โค ประกาศความสำเร็จในการยกระดับห่วงโซ่อุปทานพืชผล พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

เรื่องและภาพ: โครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่งและข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (RePSC) นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (ที่สามจากขวา) พร้อมด้วยผู้บริหารของ เป๊ปซี่โค และ GIZ และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการและเกษตรกรสมาชิกโครงการร่วมเฉลิมฉลองความสำเร็จของการดำเนินโครงการ RePSC องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) พร้อมด้วยบริษัท เป๊ปซี่โค เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด และบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนท้องถิ่น ประกาศความสำเร็จในการดำเนินโครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

เทคโนโลยีการปรับพื้นที่การปลูกพืชหมุนเวียนด้วยระบบ GPS

เขียนโดย: ธันย์ชนก พงศ์พุฒินันท์ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย; ภาพโดย: นายพงษ์ศักดิ์ ทาแกง การเกษตรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีข้อจำกัดโดยเฉพาะทรัพยากรดิน ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญสำหรับมนุษย์ โดยเป็นแหล่งผลิตอาหาร แหล่งกักเก็บน้ำ และบริการทางนิเวศน์อื่น การเพาะปลูกข้าวเป็นกิจกรรมที่ต้องพึ่งพาความเหมาะสมของพื้นที่นาอย่างมาก โดยหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบทำให้ผลผลิตข้าวลดลงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ คือ ปัญหาพื้นที่นาไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น การจัดการน้ำในพื้นที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การเจริญเติบโตของข้าวไม่สม่ำเสมอ และไม่สามารถควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูพืชในแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรจึงถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับตัวต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเหตุนี้ โครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการพื้นที่ปลูก ซึ่งเป็นกิจกรรมแรกที่สำคัญของการปลูกพืชให้ได้คุณภาพที่ดี โครงการฯ

เสริมความพร้อมเกษตรกรสตรีรับมือและปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศ

เรื่องและภาพโดย เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อแต่ละคนไม่เท่ากัน โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มชายขอบและไม่ได้รับความเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านเพศสภาพ ชาติพันธุ์ และปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น ด้วยเหตุนี้ โครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (Building a Climate Resilient Potato Supply Chain Through a Whole-Farm Approach: RePSC) จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “สตรีเกษตรอาสา ลดก๊าซเรือนกระจก” เป็นเวลาสองวันที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ทำงานของโครงการฯ

Bolstering Female Farmers’ Climate Resilience and Adaptation

Story and Photos: Kiattiyote Wongudomlert Climate change affects everyone, but not equally. Vulnerability to climate change is exacerbated by inequity and marginalisation linked to gender, ethnicity, low income, and other socioeconomic factors. This is why

Scroll to Top