ระยะเวลาดำเนินโครงการ : 1 มิถุนายน 2563 – 31 สิงหาคม 2566

โครงการ การฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์สำหรับมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน (รีแคพ)

มะพร้าวน้ำหอม เป็นมะพร้าวพันธุ์พิเศษจากประเทศไทยซึ่งมีจุดเด่นที่กลิ่นหอมของน้ำมะพร้าว โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ความต้องการมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก เกษตรกรจึงหันมาปลูกพืชเชิงเดี่ยวและใช้สารเคมีในปริมาณมาก เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการดังกล่าว แต่แนวทางปฏิบัติที่มุ่งเน้นผลในระยะสั้นเหล่านี้ เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมและทำให้การดำรงชีวิตของเกษตรกร รวมถึงคนงานในสวน ตกอยู่ในความเสี่ยง ดังนั้น เพื่อพัฒนาและสร้างแรงจูงใจในการทำสวนมะพร้าวอย่างยั่งยืนมากขึ้น แนวคิดของโครงการการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์สำหรับมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน (Regenerative Coconuts Agriculture Project “ReCAP”) จึงเกิดขึ้น

วัตถุประสงค์

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • สนับสนุนและฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว 350 ราย ให้ปลูกมะพร้าวตามแนวทางการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์ (regenerative organic agriculture)
  • เสริมสร้างทักษะทางธุรกิจขั้นพื้นฐานเพื่อเพิ่มและกระจายช่องทางการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
  • จัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรที่สามารถพึ่งพาตนเอง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการทำเกษตรแบบยั่งยืนอย่างต่อเนื่องภายในกลุ่มของเกษตรกร ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งปลูกมะพร้าวน้ำหอมหลักของไทย หรือที่โครงการ ReCAP เรียกว่า “จังหวัดมะพร้าวน้ำหอม”

ประเทศ

จังหวัด สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, ราชบุรี, นครปฐม ประเทศไทย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว 350 รายในภาคกลางของประเทศไทยได้รับการฝึกอบรม
  • พื้นที่อย่างน้อย 800 เฮกตาร์ (5,000 ไร่) สามารถปรับเปลี่ยนไปตามแนวทางการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์
  • เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม 10% จากช่องทางของรายได้ที่หลากหลายขึ้น
  • หลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการฟาร์ม สุขภาพดิน ปัจจัยการผลิตการเกษตรอินทรีย์ การจัดการศัตรูพืช และแนวทางการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์
  • จัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรที่สนับสนุนการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์

หน่วยงานร่วมดำเนินการ

Danone Ecosystem Fund และ Harmless Harvest Thailand
ติดต่อ
Lisa Faust
Project Manager, GIZ Thailand

เอกสารที่เกี่ยวข้อง​

วีดีโอ

Scroll to Top