11 พฤศจิกายน 2567

GIZ ร่วมมือกับ GGC และRSPO บูรณาการแนวทางการลดผลกระทบต่อสภาพภูมิ อากาศเข้าสู่การรับรอง RSPO สำหรับผู้ปลูกปาล์มน้ำมันไทย

เรื่องและภาพ: การผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ /กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร

ผู้บริหารจาก GGC RSPO และ GIZ ในช่วงพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ

บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และองค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้บริหารและผู้แทนจาก GGC GIZ หน่วยงานภาครัฐรวมทั้งพันธมิตรใน 4 จังหวัดผู้ผลิตปาล์มน้ำมันภาคใต้ ได้แก่ ตรัง กระบี่ พังงา และชุมพร ร่วมเป็นสักขีพยาน

พิธีการลงนามครั้งนี้จัดขึ้น ณ งานประชุมประจำปี RT2024 (Roundtable Conference on Sustainable Palm Oil) ระหว่างวันที่11-13 พฤศจิกายน 2567 ภายใต้แนวคิด “Partners for the Next 20:Innovating for Impact” โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มทั่วโลกร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความร่วมมือ และวิสัยทัศน์เพื่อส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนทั่วทั้งภาคอุตสาหกรรม

สำหรับบันทึกความเข้าใจนี้ มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการบูรณาการลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศภายใต้การรับรองของ RSPO ผ่านโครงการการผลิตและจัดหาน้ำมันปาล์มยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Sustainable Palm Oil Production and Procurement Project on Climate Mitigation and Adaptation หรือ SPOPP CLIMA) โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก GGC บริษัทชั้นนําในประเทศไทยที่มุ่งมั่นเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยมี GIZเป็นองค์กรหลักในการดําเนินโครงการ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทย  ส่งเสริมการทําเกษตรกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือคํานวณ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสําหรับผลปาล์มสด ตลอดจนการพัฒนายุทธศาสตร์การลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางขององค์การบริหารจัดการก๊าซ เรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. นอกจากนี้ โครงการจะพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการ คํานวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้กับเกษตรกร และจัดทําแปลงสาธิตการทําเกษตรกรรมแบบ คาร์บอนต่ำอย่างเหมาะสม

นายฟรานซิสโก นารันโญ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคและเกษตรกรรายย่อย RSPO กล่าวว่าบันทึกความเข้าใจระหว่าง GIZ GGC และ RSPO ฉบับนี้เน้นย้ำความสําคัญของความร่วมมือหลายภาคส่วนในการเสริมศักยภาพให้เกษตรกรรายย่อยนําแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ เกษตรกรรายย่อยคือผู้มีบทบาทสําคัญในการต่อสู้การกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม”

นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จํากัด (มหาชน) หรือ GGC กล่าวว่า “ในฐานะผู้นําผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม GGC ได้ดําเนินการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations: UN) โดยครอบคลุมทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน สร้างคุณค่าและยกระดับมาตรฐานการดําเนินธุรกิจ ให้ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและ ระดับสากล GGC GIZ และ RSPO ร่วมมือดําเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ภายในปีพ.ศ.2573 และ เป้าหมาย Net Zero ของ GGC ในปี พ.ศ. 2593 พร้อมส่งเสริมการปลูกปาล์มยั่งยืนที่สอดรับกับ กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทําลายป่า ของสหภาพยุโรป (EU Deforestation-free Regulations: EUDR) ทีfจะเริfมบังคับใช้ 1 มกราคม พ.ศ. 2568 สําหรับความร่วมมือในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาคเกษตรกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันของไทยในตลาดโลกอีกด้วย”

ดร. นานา คึนเคล ผู้อํานวยการกลุ่มโครงการด้านเกษตรและอาหาร GIZ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรไทยไปสู่ความยั่งยืนทางการผลิตและรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือระหว่าง GGC, GIZ และ RSPO เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในโครงการ คือ มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับความเป็นอยู่และเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวของเกษตรกรส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการปกป้อง สิ่งแวดล้อมและบรรเทาภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือครั้งนี้จะนํามาสู่การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการผลิตปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ การพัฒนาฐานข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และโอกาสในการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน คาร์บอนต่ำในระยะยาวต่อไป”

ดร.ถาวร ทันใจ ผู้ตรวจการกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กล่าวถึงความมุ่งมั่นของ กรมวิชาการเกษตร ในการสนับสนุนโครงการ SPOPP CLIMA ผ่านกองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสําหรับภาคเกษตร  นับเป็นหน่วยงานใหม่ที่มีภารกิจสนับสนุนเป้าหมายของ SPOPP CLIMA ด้วยการพัฒนาระบบตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมัน รวมถึงการสร้างต้นแบบสําหรับการรับรองคาร์บอนเครดิตในกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือดังกล่าว ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือและแนวทางปฏิบัติที่สนับสนุนการผลิตน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนและปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามนโยบายศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสี เขียว (Bio Circular Green: BCG) ของประเทศไทย

ด้วยตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทีfมีต่อภาคอุตสาหกรรมนี้ RSPO ได้พัฒนา PalmGHG Calculator เพื่อช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มสามารถประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยช่วยให้โรงงานสกัดและฐานการผลิตสามารถคํานวณและหาวิธีในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มได้และพัฒนาต่อยอดต่อไป บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะช่วยเพิ่มเครื่องมือในการสนับสนุนสําหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรนำวิธีการจัดการเกษตรกรรมที่ลดการปล่อยคาร์บอนมาปฏิบัติใช้ให้ในทิศทางเดียวกับมาตรฐานการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามยุทธศาสตร์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยเพื่อเสริมบทบาทของเกษตรกรรายย่อยในภาคอุตสาหกรรมการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

SPOPP CLIMA เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการก่อนหน้าที่สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2565 โดย GIZ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและกรมการเกษตรเพื่อรวมเกษตรกรรายย่อยกว่าพันรายเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน โครงการนี้ประสบความสําเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มเกษตรกรรายย่อย 6 กลุ่มได้รับการรับรอง RSPO ในปี พ.ศ. 2567 ■

แกลอรี่ภาพ

วิดีโอ

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN