Category: บทความ

เสริมความพร้อมเกษตรกรสตรีรับมือและปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศ

เรื่องและภาพโดย เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อแต่ละคนไม่เท่ากัน โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มชายขอบและไม่ได้รับความเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านเพศสภาพ ชาติพันธุ์ และปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น ด้วยเหตุนี้ โครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (Building a Climate Resilient Potato Supply Chain Through a Whole-Farm Approach: RePSC) จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “สตรีเกษตรอาสา ลดก๊าซเรือนกระจก” เป็นเวลาสองวันที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ทำงานของโครงการฯ

สหภาพยุโรปกับกฎระเบียบ EUDR:มาตรการกีดกันทางการค้าหรือโอกาสทางการค้าของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทย

เรื่อง: กนกวรรณ ศาศวัตเตชะ ภาพ:โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (SPOPP) สหภาพยุโรป (European Union: EU) ได้กำหนดกฎระเบียบใหม่ที่เข้มงวดกว่าเดิม เพื่อพยายามลดปัญหาการทำลายพื้นที่ป่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ตลอดจนปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานจากภาคการเกษตรทั่วโลก ซึ่งมีชื่อว่า EU Deforestation Regulation หรือ EUDR คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2567 ครอบคลุม 7 กลุ่มสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อการทำลายป่ามากที่สุด ได้แก่ โกโก้ กาแฟ ถั่วเหลือง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โค และเนื้อไม้ ตลอดจนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าดังกล่าว เช่น

เพิ่มผลผลิตและรายได้จากการจัดการสวนมะพร้าวด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน

เรื่อง อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล และ เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ เป็นเวลาประมาณสองปีแล้วที่ชนัญญา เชวงโชติ วางมือจากอาชีพเชฟอาหารในต่างแดน และเดินทางกลับบ้าน เพื่อมาดูแลบิดาอายุ 85 ปี และสวนมะพร้าวขนาด 35 ไร่ที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี    คุณชนัญญา หรือกุ้ง ชื่อเล่นที่คนในครอบครัวเรียกคือสมาชิกรุ่นทีสองของสวนลุงชะเอม เธอเติบโตที่สวนมะพร้าวของพ่อ ถึงแม้จะไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศเกือบ 10 ปี คุณกุ้งก็มีความตั้งใจที่จะกลับมาช่วยครอบครัวดูแลกิจการ “สวนลุงชะเอม“ สวนมะพร้าวที่กำลังเผชิญกับความท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งน้ำเค็มรุกล้ำสวน สภาพดินเสื่อมโทรม

โครงการข้าวหอมมะลิยั่งยืนสร้างโอกาส-สานพลังเพื่อผู้หญิงในภาคการเกษตรของไทย

เรื่อง: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ: ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร เกษตรกรสตรีจากภาคอีสานได้รับการรับรองจาก เวทีข้าวยั่งยืน หรือ Sustainable Rice Platform (SRP)  พร้อมพัฒนาส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิไทยลดโลกร้อน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของการ เกษตรกรสตรีจากร้อยเอ็ดและอุบลราชธานี ได้รับเชิญจากมิสเตอร์ ฮันส์-อูลริค ซูเบ็ค อัครราชทูตและหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย และดร.เบิร์น คริสเตียนเซน ที่ปรึกษาทูตด้านอาหารและการเกษตร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงความสำเร็จของการปลูกข้าวหอมมะลิยั่งยืนในระดับชุมชน มัสสา โยริบุตร พูนทรัพย์ พรหมมี และ อุดร คำวงสา คือเกษตรกร 3 คนแรกของไทยและเป็นเกษตรกรสามคนแรกของโลกที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในฐานะ

Scroll to Top