Category: ข้าว

ธ.ก.ส. และ GIZ ร่วมศึกษาดูงานประเทศเยอรมนีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนากลไกการเงินสีเขียวและนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

เรื่องและภาพ นรวิชญ์ สุวรรณกาญจน์, กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร คณะผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เดินทางศึกษาดูงานด้านการพัฒนากลไกการเงินสีเขียวและนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 22 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืน รวมทั้งเปิดโอกาสผู้บริหารของธ.ก.ส.ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สมาคมการเกษตร รวมถึงสถาบันการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลไกหรือเครื่องมือทางการเงิน และรูปแบบธุรกิจการเกษตรที่ส่งเสริมความยั่งยืนทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของเยอรมัน โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือการรองรับความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษาดูงานในครั้งนี้ว่าเป็นการส่งเสริมให้คณะศึกษาดูงานได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนารูปแบบการเงินสีเขียว การสร้างนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งสอดคล้องการนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ของประเทศไทย รวมถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม  และบรรษัทภิบาล (Environmental,

ไทย-เยอรมันร่วมหารือแนวทางพัฒนากลไกทางการเงินเพื่อส่งเสริมการทำนาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก-ความยั่งยืนภาคเกษตรไทย

เรื่อง: เมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ ผู้จัดการโครงการนวัตกรรมเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) และบรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บยส.) พร้อมทั้งผู้แทนและที่ปรึกษาด้านการเงินจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมกันระดมสมองเพื่อหาแนวทางและกลไกการเงินที่ยั่งยืนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรรายย่อยไทยในการทำนาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มศักยภาพชาวนาไทยในการฟื้นตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรายละเอียดความคืบหน้าของการพัฒนาและออกแบบโครงการ “การเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ” หรือ “Thai Rice GCF” ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการจัดทำข้อเสนอโครงการโดย GIZ  คณะทำงานเพื่อผลักดันข้อเสนอโครงการ Thai Rice GCF จัดประชุมการประชุมเชิงปฎิบัติการทั้งหมดสามครั้ง เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและแนวทางการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญภาคเกษตรไทยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาควิชาการ เพื่อระดมสมองและรวบรวมแนวคิดจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสร้างสรรค์ เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับคณะทำงานเพื่อวางกรอบแนวคิดและแผนการทำงานโครงการที่เกษตรกรรายย่อยและหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงและเป็นประโยชน์กับภาคเกษตรไทยให้ได้มากที่สุด สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอของโครงการ

GIZ ผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากภาครัฐ เอกชนร่วมแลกเปลี่ยนและระดมความเห็นเพื่อออกแบบเครื่องมือทางการเงิน เพื่อยกระดับศักยภาพชาวนาไทยเดินหน้าปลูกข้าวลดโลกร้อน

เรื่อง: เมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ ผู้ประสานงานโครงการการเงินเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านสภาวะภูมิอากาศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการเกษตรจากภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษากว่า 30 ท่านร่วมหารือในการประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่องแนวทางเพื่อการพัฒนากลไกและมาตรการสนับสนุนทางการเงินภายใต้ข้อเสนอโครงการเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ (Thai Rice GCF)”   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและศักยภาพภาคการผลิตข้าวของไทยไปสู่การผลิตข้าวลดโลกร้อนและการปลูกข้าวที่ยั่งยืน การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัทที่ปรึกษาด้านการแก้ปัญหาด้านสภาพอากาศ เดอะ ครีเอจี้ จำกัด เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด หาแนวทางที่เป็นไปได้ร่วมกันเพื่อออกแบบกลไกลและมาตราการทางการเงินสนับสนุนชาวนารายย่อย การออกแบบกลไกลและมาตราการสนับสนุนทางการเงินเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการขอรับทุนสนับสนุนโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศหรือThai Rice GCF project มิสเตอร์โทเบียส บรอยนิก ที่ปรึกษาทางการเงินการเกษตรของ GIZ โดยโครงการมีแผนเพิ่มศักยภาพเกษตรกรมากถึง   2.5 แสนคนใน 15 จังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง

Scroll to Top