Category: ข้าวยั่งยืน

ไทยประกาศความสำเร็จโครงการข้าวลดโลกร้อน เพิ่มศักยภาพภาคเกษตร ลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Story and Photos: Thai-German Climate Programme – Agriculture โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม (Thai-German Climate Programme – Agriculture) ประกาศความสำเร็จสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมวิถีการปลูกข้าวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาระบบการตรวจวัด รายงานและทวนสอบ (Monitoring, Reporting and Verification: MRV) สำหรับภาคส่วนข้าว นับเป็นความก้าวหน้าของภาคเกษตรไทยในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาครัฐในระดับปฏิบัติการและฝ่ายวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปลูกข้าว ข้าวมีบทบาทสำคัญกับการพัฒนาประเทศเพราะเป็นผลผลิตส่งออกหลักของภาคเกษตรไทย และยังเป็นอาหารหลักหล่อเลี้ยงประชากรไทยจากรุ่นสู่รุ่น อย่างไรก็ตาม รายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 2 (The 2nd

ประเทศไทยประกาศความสำเร็จปักหมุดพื้นที่ต้นแบบการปลูกข้าวหอมมะลิยั่งยืน สร้างรายได้ ขยายโอกาสชาวนาเชื่อมต่อผลผลิตสู่ตลาดโลก

เรื่องและภาพ: โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร อุบลราชธานี –   ที่เวทีการประชุมเสวนาทิศทางการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวที่ยั่งยืน และพิธีปิดโครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) (Market-oriented Smallholder Value Chain: MSVC Thailand) จัดขึ้น ณ ห้องประชุม เขื่อนสิรินธร อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย กรมการข้าว บริษัทโอแลม อกริ (Olam Agri) และคร็อป ไลฟ์ (Crop Life) ร่วมกันประกาศความสำเร็จ

“ข้าว” และ “ข้าวยั่งยืน” ทางเลือกของผู้บริโภคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

สริดา คณานุศิษฎ์ โครงการความร่วมมือ ไทย – เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม และ โครงการยกระดับความสำคัญของข้าวยั่งยืนผ่านเวทีข้าวยั่งยืน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยและองค์กรภาคเอกชนจากนานาประเทศ ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับประโยชน์ของ “ข้าวยั่งยืน” ให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภคทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา GIZ ประเทศไทยได้มอบหมายให้ยูโกฟ (YouGov) บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดระดับโลก  ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้ของผู้บริโภคชาวไทยที่มีต่อข้าวที่ผลิตอย่างยั่งยืน รวมไปถึงคุณลักษณะที่ผู้บริโภคกำหนดว่าเป็นข้าวยั่งยืนและผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจซื้อตามคุณลักษณะเหล่านั้น ซึ่งได้มีการกำหนดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายผู้มีอำนาจตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับการบริโภคภายในครัวเรือน โดยมีการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชาวไทยจำนวนมากกว่าหนึ่งพันรายที่บริโภคข้าวมากกว่าห้ามื้อต่อสัปดาห์ โดยพิจารณาจากเพศ อายุ การศึกษา การบริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืน ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า ปัญหาที่เกิดจากความแห้งแล้งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ร้อยละ 57)

Scroll to Top