Category: บทความพิเศษ

หญิงแกร่งแห่งบึงโจน: การดูแลแหล่งน้ำเพื่อชุมชนและอนาคต

โดย พงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม โครงการ E-WMSA ดอกบัวบานสะพรั่งที่บึงโจนในยามเช้า บึงโจน: แหล่งน้ำและชีวิต บึงโจน แหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ๋ ครอบคลุมพื้นที่ราว 164 ไร่ เป็นพื้นที่สาธารณะที่อยู่ในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน และมีความสำคัญต่อชีวิตของชาวบ้านในหลายพื้นที่ ทั้งตำบลวังวน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก และตำบลใกล้เคียงจากจังหวัดสุโขทัย บึงโจนสามารถส่งน้ำให้ชาวบ้านใช้ในการทำนากว่า 3,000 ไร่ รวมถึงเป็นแหล่งน้ำให้กับสัตว์เลี้ยง และใช้สำหรับการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ในฤดูน้ำหลากช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมของทุกปี บึงโจนเป็นบึงธรรมชาติที่ช่วยตัดยอดน้ำจากมวลน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำยมสายเก่า หรือคลองเมม และในหน้าแล้ง เกษตรกรผู้ใช้น้ำก็ใช้น้ำในบึงโจนสำหรับการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ โดยมีข้อตกลงในชุมชนว่าจะต้องเหลือน้ำไว้ในบึงให้เพียงพอสำหรับการทำประมงน้ำจืด ซึ่งแหล่งประมงน้ำจืดที่นี่มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ปลานิล ปลาบึก

GIZ-เชลล์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างชุมชนเข้มแข็งวางระบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

เรื่องโดย โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการน้ำและการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ /GIZ ประจำประเทศไทย “ระบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชุมชน” คือแนวคิดที่เชลล์และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย นำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปัญหาเรื่องการจัดการน้ำเป็นต้นกำเนิดของความท้าทายทางเศรษฐกิจของชุมชน พลังงานสะอาดที่กำลังเป็นที่นิยมในทุกภาคส่วน ถูกนำมาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน เชลล์ในฐานะบริษัทพลังงานชั้นนำระดับโลก ผสานความร่วมมือ GIZ ประจำประเทศไทยในฐานะพันธมิตรหลัก เทศบาลตำบลทุ่งหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด และวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ริเริ่มโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการน้ำและการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Shell Water Resource Management) เพื่อแก้ปัญหาการจัดการน้ำที่เป็นรากฐานความท้าทายทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นกลไกขับเคลื่อนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน นางสาวอรอุทัย ณ เชียงใหม่ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย

โครงการ SPOPP ร่วมส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียมในภาคการเกษตร

เรื่องและภาพ: เรื่องโดย จันทิมา กูลกิจและธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ / กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร แม้การเกษตรมักถูกมองว่าเป็นงานสำหรับผู้ชายแท้เท่านั้น แต่ปรัชญา รัตนบัณฑิต หรือ ปัช พิสูจน์ให้เห็นว่าความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ช่วยให้คนรอบข้างยอมรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเช่นกัน โครงการ SPOPP ช่วยให้ปัชเข้าใจการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเรียนรู้การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนสามารถยกระดับผลผลิตของสวนปาล์มของครอบครัวได้ ปัชส่งต่อความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่กว่า 400 คน รวมถึงผู้คนรอบข้าง จนได้รับการยอมรับและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย ปรัชญา รัตนบัณฑิต หรือ ปัช เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพลังความมุ่งมั่นและการเปิดใจยอมรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในภาคการเกษตร หลังจากต้องเผชิญกับความกังขาจากผู้คนรอบข้างที่ไม่เชื่อว่าเขามีความสามารถพอที่จะดูแลสวนปาล์มน้ำมันได้ รวมถึงกรอบความคิดแบบเดิมที่เชื่อว่าการเกษตรเป็นงานสำหรับผู้ชายแท้เท่านั้น แม้จะเติบโตมากับครอบครัวเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดชุมพร แต่ปัชกลับไม่สนใจเส้นทางสายนี้ จึงตัดสินใจจากบ้านเกิดมาเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อปี

ถนนแห่งการเรียนรู้สู่วิถีเกษตรกรรมเท่าทันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เรื่องโดย อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล/ กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร เกษตรกรสมาชิกโครงการ SARI เข้าเยี่ยมชมศูนย์วิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดเขียงใหม่ก่อนเดินทางกลับภูมิลำเนา เกษตรกรสมาชิกโครงการข้าวหอมมะลิยั่งยืน (Sustainable Aromatic Rice Initiative หรือ SARI) จากจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งหมดราว 50 ท่านเดินทางแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ชาวนาอีสาน-กลาง-เหนือ ในประเด็นการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเดินทางศึกษาดูงานทางรถตลอดสัปดาห์เมื่อไม่นานมานี้ เริ่มต้นจากบ้านเกิดของเกษตรกรสมาชิกโครงการ คือจังหวัดร้อยเอ็ด หนึ่งในห้าจังหวัดที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ พื้นที่ราบอันกว้างใหญ่ราวสองล้านไร่ หนึ่งในสามของพื้นที่อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด ทุ่งกว้างนี้ยังครอบคลุมบริเวณพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ยโสธรและมหาสารคาม ครั้งหนึ่งทุ่งกุลาร้องไห้เคยแห้งแล้งได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิอันโด่งดัง แต่ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ และการปลูกข้าวที่อาศัยแต่เพียงน้ำฝน ทำให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้เพียงปีละครั้ง เกษตรกรจำเป็นต้องหารายได้เสริมจากปศุสัตว์ ปลูกพืชผักสวนครัว แม้กระทั่งรับจ้างทำงานนอกพื้นที่เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว

โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGC-EMC): ความมุ่งมั่นร่วมกันสู่เป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนจากภาคเกษตรของประเทศไทย

เรื่องและภาพ: เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30% ภายในปี 2030 ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ในขณะที่ส่วนแบ่งจากการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนยังต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานยั่งยืนของประเทศไทย จึงได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือไทย–เยอรมันด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Thai-German Cooperation on Energy, Mobility, and Climate (TGC-EMC) คุณ พีรพันธ์ คอทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวเปิดงาน โครงการ TGC-EMC เป็นความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนีเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของประเทศไทยไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการฯ ประกอบด้วยห้าภาคส่วน ได้แก่ ภาคส่วนพลังงานชีวมวล (Biomass) ภาคส่วนพลังงานหมุนเวียน (Renewable

วิทยากร SPOPP ต้นแบบที่ให้มากกว่าการสอนและการแบ่งปันความรู้

เรื่องและภาพ จันทิมา กูลกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร ถนอมขวัญ จันทร์พิบูลย์ วิทยากร โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน บริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด วิทยากรมักถูกมองว่าเป็นเพียงผู้บรรยาย แต่สำหรับโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน หรือ SPOPP แล้ว วิทยากรของเรานั้นยังเป็นทั้งผู้สอน ผู้นำกระบวนการฝึกอบรม และเป็นผู้ตรวจสอบที่คอยติดตามว่าเกษตรกรได้นำความรู้และเทคนิคที่ได้จากการอบรมไปใช้หรือไม่ วิทยากรของโครงการ SPOPP หลายคนยังคงสนุกกับสิ่งที่ทำและพัฒนาการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องต่างๆ แล้ว วิทยากรยังเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันไปสู่เป้าหมายในการได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน หรือ RSPO กิจกรรมที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยากรโครงการ SPOPP ได้อย่างชัดเจน ถ้าขาดคนใดคนหนึ่งไป หรือหากใครขาดคุณสมบัติไปข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานอย่างแน่นอน นอกจากนั้น ความท้าทายสำคัญที่วิทยากรต้องเผชิญในการพัฒนาทักษะก็คือการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่อาจแตกต่างไปจากสิ่งที่ได้รู้ในห้องเรียน

Scroll to Top