Category: การจัดการน้ำ

หญิงแกร่งแห่งบึงโจน: การดูแลแหล่งน้ำเพื่อชุมชนและอนาคต

โดย พงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม โครงการ E-WMSA ดอกบัวบานสะพรั่งที่บึงโจนในยามเช้า บึงโจน: แหล่งน้ำและชีวิต บึงโจน แหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ๋ ครอบคลุมพื้นที่ราว 164 ไร่ เป็นพื้นที่สาธารณะที่อยู่ในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน และมีความสำคัญต่อชีวิตของชาวบ้านในหลายพื้นที่ ทั้งตำบลวังวน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก และตำบลใกล้เคียงจากจังหวัดสุโขทัย บึงโจนสามารถส่งน้ำให้ชาวบ้านใช้ในการทำนากว่า 3,000 ไร่ รวมถึงเป็นแหล่งน้ำให้กับสัตว์เลี้ยง และใช้สำหรับการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ในฤดูน้ำหลากช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมของทุกปี บึงโจนเป็นบึงธรรมชาติที่ช่วยตัดยอดน้ำจากมวลน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำยมสายเก่า หรือคลองเมม และในหน้าแล้ง เกษตรกรผู้ใช้น้ำก็ใช้น้ำในบึงโจนสำหรับการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ โดยมีข้อตกลงในชุมชนว่าจะต้องเหลือน้ำไว้ในบึงให้เพียงพอสำหรับการทำประมงน้ำจืด ซึ่งแหล่งประมงน้ำจืดที่นี่มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ปลานิล ปลาบึก

ชาวลุ่มน้ำยม-น่าน ร่วมใจฝึกฝนรับมือวิกฤตน้ำจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

เรื่อง: รวิวรรณ บุญไชย ภาพ: พงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม/กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร ผู้แทนจากกรมชลประทาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ตัวแทนผู้ใช้น้ำ และตัวแทนชุมชนในพื้นที่โครงการ จำนวน 16 คนเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการน้ำที่ยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำยมระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2567 ที่โรงแรมหรรษนันท์ จังหวัดพิษณุโลก ลุ่มแม่น้ำยม-น่านเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความสำคัญทั้งในเชิงภูมิประเทศและภาคการเกษตรและการบริหารจัดการน้ำ อย่างไรก็ตามเกษตรกรในพื้นที่กลับได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้งและน้ำท่วม โดยปัญหาการจัดการน้ำทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นท่ามกลางสภาวะโลกร้อน   องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และกรมชลประทาน (ชป.) ตระหนักถึงความสำคัญของทั้งชุมชน ภาครัฐ และเอกชน เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการน้ำที่ยั่งยืนในพื้นที่ จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้นเป็นระยะเวลา

โครงการ E-WMSA: การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศไทยต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำยม-น่าน

เรื่องและภาพ: เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงและเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอีก 30 ปี นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะประสบวิกฤติภัยแล้งและอุทกภัยรุนแรงบ่อยครั้งขึ้น จนอาจส่งผลเสียต่อภาคเกษตรกรรม ดังนั้น ในแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 จึงได้กำหนดให้การบริหารจัดการน้าภายใต้ภาวะวิกฤตภัยแล้งและอุทกภัยเป็นเรื่องเร่งด่วนระดับชาติ เพื่อสนับสนุนการจัดการน้ำและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยด้วย ด้วยเหตุนี้กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF) จึงจัดตั้งโครงการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water Management

กรมชลประทาน-GIZ เปิดตัวโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย

เรื่องและภาพ กรมชลประทาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะเริ่มต้น (Inception workshop) โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water Management and Sustainable Agriculture) โดยมีผู้แทนสำนักงานชลประทานระดับภาค ผู้แทนจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) และผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Scroll to Top